ข้อความต้นฉบับในหน้า
เหมือนกับคนมีกรรมที่ต้องกำพร้าพ่อ เพราะพ่อตายเมื่อขงจื้ออายุได้ 3 ขวบเท่านั้น มารดาผู้
เป็นแม่หม้ายสาวซึ่งมีอายุเพียง 17 ปี ก็ได้พยายามต่อสู้ความยากจนเลี้ยงดูบุตรของตนให้เติบ
ใหญ่ด้วยความเหนื่อยยากจนกระทั่งขงจื้อโตพอที่จะช่วยตนเองและช่วยแม่ทำงานมาหาเลี้ยงชีพ
ขงจื้อต้องทำงานหนักต้องเลี้ยงมารดาตอบแทนบุญคุณ มีนิสัยใฝ่การศึกษามาก แต่กว่าจะได้
เริ่มเรียนวิชาความรู้อย่างจริงจังก็เมื่ออายุ 15 ปี เรียนหนังสืออยู่ 3 ปี และเมื่ออายุ 18 ปีก็ได้
เข้าทำงานในกรมฉางหลวงของแคว้น เฝ้าสัตว์เลี้ยงของหลวง เนื่องจากขงจื้อเป็นคนฉลาด
ขยันขันแข็งซื่อตรงต่อหน้าที่การงาน ทำให้ผู้ใหญ่ชอบ เข้าผู้ใหญ่ได้ทุกชั้น จึงได้รับความเมตตา
จากผู้ใหญ่ แม้แต่เจ้าแคว้นเองก็โปรดปราน ทำให้ขงจื้อก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
8.2.2 ชีวิตสมรส
เมื่อขงจื้ออายุได้ 19 ปี ก็ได้ตกลงปลงใจแต่งงานกับหญิงตระกูลดีคนหนึ่ง ในวัน
แต่งงานขงจื้อได้รับเกียรติอย่างสูงจากเจ้าแคว้น ที่ส่งปลาสองตัวมาให้เป็นของขวัญขงจื้อจึง
ถือเป็นศุภนิมิตว่า ถ้ามีลูกจะตั้งชื่อว่าโป แปลว่า ปลางาม และก็ได้เป็นจริงดังตั้งใจ กล่าวคือ
เมื่อแต่งงานแล้วไม่นานก็ได้บุตรชายคนหนึ่งและก็ได้ตั้งชื่อให้ว่าโปสมปรารถนา แต่ก็เป็น
คราวเคราะห์ร้ายของขงจื้ออีกเหมือนกัน เพราะต่อไปนี้ขงจื้อจะต้องเป็นกำพร้าขาดทั้งพ่อขาด
ทั้งแม่ปรากฏว่าใกล้ๆ เวลาที่ได้แต่งงานนั้นมารดาของขงจื้อก็ถึงแก่กรรมลงเมื่อขงจื้ออยู่ที่นั่นถึง
3 ปี ต่อมาชีวิตสมรสก็ไม่ค่อยจะราบรื่นเท่าไรนัก เพราะขงจื้อมีความรู้สึกโน้มน้าวไปในทาง
ธรรมมาก มุ่งงานมุ่งศึกษามาก ชอบคิดและคิดด้วยตนเองมาก ขงจื้อค่อนข้างเป็นคนเคราะห์
ร้ายเรื่องครอบครัว เพราะลูกไม่ได้เป็นปราชญ์ตามเชื้อสายพ่อ และไม่ค่อยปรากฏเรื่องของลูก
และภรรยาในชีวประวัติมากนัก
8.2.3 ชีวิตมัชฌิมวัย
ตั้งแต่ขงจื้อ ได้เข้ารับราชการตั้งแต่อายุ 18 ปี และก็ได้มีความก้าวหน้าในหน้าที่
การงานมาตามลำดับจนได้รับความไว้วางใจจากเจ้าแคว้นลู่แต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฉางหลวง
(ธนาคารข้าว) มีหน้าที่ตรวจเก็บภาษีข้าวเปลือกที่ชาวนาจะนำขึ้นฉางหลวงของเจ้าเมืองลู่
ระหว่างรับราชการอยู่ปรากฏเป็นคนรอบรู้ในจารีตประเพณีดีกว่าผู้ใด ผู้ใดจะประกอบพิธีอัน
ใดขงจื้อเป็นผู้ทำให้ทั้งหมด ที่สุดจึงกลายเป็นพิธีกร เป็นอาจารย์ของคนทั้งหลายโดยปริยาย
1 เสถียร โพธินันทะ, เมธีตะวันออก, 2514 หน้า 135-136.
222 DOU ศาสนศึกษา