ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระเวท อยู่ในช่วงประมาณ 1,000-100 ปีก่อนพุทธกาล 2) ยุคพราหมณ์ ประมาณ 100 ปี
ก่อนพุทธกาลถึง พ.ศ. 700 และ 3) ยุคฮินดู ตั้งแต่ พ.ศ. 700 เป็นต้นมา แต่สำหรับในตำรา
เล่มนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักศึกษา ในการที่จะได้เห็นถึงพัฒนาการในแง่ประวัติ
ศาสนาได้อย่างชัดเจนและลุ่มลึกไปตามลำดับ จึงขอนำเสนอหลักการแบ่งตามแนวทางของ
ท่านเสถียร โกเศศ และนาคะประทีป โดยแบ่งเป็นยุคสมัยดังนี้ คือ
1.
2.
3.
สมัยดึกดำบรรพ์ ระยะเวลาประมาณ 1,000 ปี ก่อนพุทธกาล
สมัยพระเวท
ระยะเวลาประมาณ 957-475 ปีก่อนพุทธกาล
สมัยพราหมณ์ ระยะเวลาประมาณ 257 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ.43
4. สมัยฮินดูเก่า (ฮินดูแท้) ระยะเวลาประมาณ 57 ปีก่อน พ.ศ. – - ต้นพุทธกาล
5. สมัยอุปนิษัท
6. สมัยสูตร
7. สมัยอวตาร
8.
สมัยเสื่อม
9. สมัยฟื้นฟู
10. สมัยภักดิ
ระยะเวลาประมาณ 57 ปีก่อน พ.ศ. – ต้นพุทธกาล
ระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 60 - พ.ศ. 360
ระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 220 - พ.ศ. 660
ระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 861 - พ.ศ. 1190
ระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 1200 - พ.ศ. 1740
ระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 1740 - พ.ศ. 2300
11. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูปัจจุบัน ระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 2300 - ปัจจุบัน
3.1.1 สมัยดึกดำบรรพ์
ในดินแดนชมพูทวีปนี้ แต่เดิมเป็นที่อาศัยของชนพื้นเมืองเดิมที่เรียกว่าพวกทราวิท หรือ
ดราวิเดียน (Dravidian) หรือพวกมิลักขะ ซึ่งมีเผ่าย่อยต่างๆ อีกหลายเผ่า แต่รูปร่างลักษณะ
คล้ายกันคือรูปร่างเล็ก ผิวดำ จมูกรั้น ต่อมาพวกอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) หรือพวก
อารยัน ซึ่งมีลักษณะผิวขาว จมูกโด่ง รูปร่างสูงใหญ่ ซึ่งเดิมอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโวลกา แม่น้ำอูราล
ทะเลสาบแคสเปียน แล้วได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา และ
แม่น้ำยมุนา เมื่อมีกำลังคนมากขึ้น จึงได้แผ่ขยายอำนาจเข้ามายึดครองดินแดนของพวกชาว
พื้นเมืองเดิมซึ่งก็คือพวกทราวิทหรือมิลักขะ และได้แบ่งการปกครองออกเป็นระบบ ตลอดจน
พัฒนาความเชื่อทางศาสนาโดยยกย่องเทพของตนอยู่เหนือชนพื้นเมืองเดิม ซึ่งแต่เดิมนั้นทั้ง
พวกมิลักขะและพวกอารยันต่างก็มีศาสนาเดิมของตนอยู่ก่อนแล้ว พวกมิลักขะนับถือธรรมชาติ
อนุมานราชธน พระยา และสารประเสริฐ, พระ, ลัทธิของเพื่อน โดย เสถียรโกเศศ และ นาคะประทีป
(นามแฝง), 2500 หน้า 79-168.
ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู DOU 49