ข้อความต้นฉบับในหน้า
2) การละหมาด หรือ สวด (นมาซ หรือ นมัสการ)
การละหมาดหรือการนมัสการพระเจ้าคือการแสดงความเคารพต่อพระเจ้า เป็นการ
ปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า
เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า การสำ
รวมจิตระลึกถึงพระเจ้า การละหมาดเป็นการขัดเกลาจิตให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา นอกจาก
นี้ยังเป็นการสร้างพลังให้แข้มแข็ง
การสำรวมจิตหรือการทำสมาธิเพื่อมิให้จิตใจวอกแวกไปใน
เรื่องต่าง ๆ เป็นภาวะที่จิตใจได้เข้าไปสัมผัสกับความเป็นเอกภาพกับพระเจ้า ทำให้จิตสงบ ตั้งมั่น
อดทน ผู้ที่มีความทุกข์และประสบปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ การละหมาดเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด
ทั้งยังฝึกตนเองให้ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ให้อยู่ในระเบียบวินัย รักษาความ
สะอาด และยังเป็นการบริหารร่างกายอย่างดียิ่ง หากเป็นการละหมาดรวม ยังเป็นการ
แสดงออกถึงความสามัคคีพร้อมเพรียง ความเสมอภาค และภราดรภาพอีกด้วย การทำละหมาด
เป็นกิจที่ต้องทำเป็นประจำในหลายวาระ คือ
1. รอบวัน ผู้เป็นมุสลิมจะต้องทำละหมาดวันละ 5 เวลา คือ
1.1 เวลาย่ำรุ่ง
เรียกว่า ละหมาด
ชุบหุ ปฏิบัติ 2 ร็อกอะฮ์
1.2 เวลากลางวัน
เรียกว่า ละหมาด
ดุฮริอ ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์
1.3 เวลาเย็น
เรียกว่า ละหมาด
อะซัร ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์
1.4 เวลาพลบค่ำ
เรียกว่า ละหมาด
มัฆริบ ปฏิบัติ 3 ร็อกอะฮ์
1.5 เวลากลางคืน
เรียกว่า ละหมาด
อิชาอ์ ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์
2.
รอบสัปดาห์ ให้รวมทำกันในวันศุกร์ ณ มัสยิดสถาน จำนวน 2 ร็อกอะฮ์
รอบปี ในรอบปีหนึ่งให้ทุกคนมาปฏิบัติการละหมาด ณ มัสยิดหรือสถาน
ชุมนุมซึ่งมี 2 ครั้ง คือ
3.
3.1 ละหมาดเมื่อสิ้นเดือนถือศีลอด (อีดุลพิฎร์) ซึ่งเรียกว่า “วันออกบวช”
จํานวน 2 ร็อกอะฮ์
3.2 ละหมาดในวันเชือดสัตว์พลีทาน เนื่องในเทศกาลฮัจญ์ (อีดุลอัฏฮา) ซึ่ง
เรียกว่า “วันออกฮัจญ์” จำนวน 2 ร็อกอะฮ์
4. ตามเหตุการณ์ เมื่อเกิดเหตุการณ์บางประการให้ละหมาดด้วย เช่น
4.1 ทำละหมาดขอพรแก่ผู้ตายก่อนนำไปฝัง เรียกว่า “ละหมาดญะนาซะฮ์”
1 เสาวนีย์ จิตต์หมวด, วัฒนธรรมอิสลาม, 2524 หน้า 105
398 DOU ศาสนศึกษา