ข้อความต้นฉบับในหน้า
คัมภีร์ทั้ง 5 นี้ เดิมเป็นข้อเขียนหรือหนังสือธรรมดา แต่ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็น
วรรณคดีชั้นสูง และเป็นหลักคำสอนด้วย
8.3.2 ซู ทั้ง 4 มีดังนี้
คำว่า “ซู” แปลว่า หนังสือหรือตำรา การใช้คำนี้ก็เพื่อทำให้คำว่า กิ่ง หรือเกง มีน้ำหนัก
ลดลงเล็กน้อย กล่าวคือ คำว่า กิ่ง หรือเก่ง มีความหมายเท่ากับคำว่า สูตรหรือคัมภีร์ซึ่งกิ่งหรือ
เกงเป็นงานที่ขงจื๊อได้เรียบเรียงขึ้นเอง ส่วนซูนั้น เป็นงานที่หลานและศิษย์ของขงจื้อเรียบเรียง
รวบรวมขึ้น ซูทั้ง 4 มีดังนี้
1. ต้าสุย หมายถึง การศึกษาที่สำคัญยิ่ง หรือการศึกษาที่ทำให้เป็นมหาบุรุษ
เป็นบทความสั้นๆ เกี่ยวกับศีลธรรม เช่น การปกครองรัฐขึ้นอยู่กับการจัดครอบครัวให้เป็นระเบียบ
2. จุงยุง หมายถึง ทางสายกลาง หนังสือเล่มนี้ให้ข้อคิดเห็นทางศีลธรรมอันเป็น
พื้นฐานเกี่ยวกับความรู้จักประมาณตน ความสมดุล และความเหมาะสม ข้อคิดเห็นที่สำคัญอีก
ประการหนึ่งคือ เรื่องความจริงใจ หรือความจริง เช่น คนที่มีความจริงใจต่อคนอื่นและมีความ
จริงใจต่อตนเองเท่านั้นจึงเป็นมนุษย์ที่แท้จริง
3. ลุนยู หมายถึง ประมวลคำสอนของขงจื้อซึ่งศิษย์ทั้งหลายของขงจื้อได้รวบรวม
ไว้ เช่น เมื่อเดินอยู่ด้วยกันสามคน ข้าพเจ้ามักมีครูเสมอ ข้าพเจ้าสามารถเลือกคุณสมบัติดีๆ
ของคนคนหนึ่งเอามาประพฤติเลียนแบบได้ และเลือกเอาคุณสมบัติเลวๆ ของอีกคนหนึ่งออก
แล้วเอามาแก้ไขตัวข้าพเจ้าเองได้
4. เม่งจื้อ หมายถึง คัมภีร์เม่งจื้อ เม่งจื้อผู้เป็นศิษย์ของขงจื้อได้รวบรวมไว้ เช่น
ความรู้สึกสงสารเป็นจุดเริ่มต้นของมนุษยธรรมความรู้สึกละอายเป็นจุดเริ่มต้นของความยุติธรรม
ความรู้สึกอ่อนโยนเป็นจุดเริ่มของความมีมารยาทอันดีงาม ส่วนความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเป็นจุด
เริ่มต้นของปัญญา
8.4 หลักคำสอนที่สำคัญ
หลักธรรมของศาสนาขงจื้อแตกต่างจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเพราะศาสนาพราหมณ์-
ฮินดูสอนมุ่งสู่ภพหน้าอันเป็นอนาคต แต่ศาสนาขงจื้อสอนมุ่งอดีตความดีของบรรพบุรุษ คำนึง
ถึงความเป็นจริงในปัจจุบันโดยถือแบบอย่างอันดีงามของคน ในอดีตศาสนาขงจื้อมุ่งหน้าใน
ด้านการปกครองบ้านเมืองเพื่อให้ราษฎรร่มเย็นเป็นสุข ให้ผู้มีอำนาจในการปกครองใช้เมตตา
226 DOU ศาสนศึกษา