ความสำคัญของธรรมชาติและไสยศาสตร์ในพระพุทธศาสนา DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 39
หน้าที่ 39 / 481

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความสำคัญของธรรมชาติในพระพุทธศาสนา รวมถึงข้อห้ามเกี่ยวกับการตัดต้นไม้ในพระวินัย และอิทธิพลของไสยศาสตร์ที่มีต่อความเชื่อของศาสนิกชนยุคปัจจุบัน. ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้อธิบายว่าไสยศาสตร์มีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายเสีย เมื่อผู้คนเข้าใจเรื่องราวของไสยศาสตร์ มักจะมีปัญญาที่จำกัดและพยายามหาทางพ้นทุกข์ผ่านพลังอันลึกลับ. ในทางกลับกัน การศึกษาพุทธศาสตร์ช่วยให้บุคคลพ้นจากกิเลสได้อย่างแท้จริง. บทความนี้เน้นให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงความเชื่อและวรรณกรรมที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับธรรมชาติและไสยศาสตร์ในอดีตและปัจจุบัน.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของธรรมชาติ
-ข้อห้ามในพระวินัย
-ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
-มุมมองของพุทธทาสภิกขุ
-การพ้นจากกิเลส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นับถือในธรรมชาติเช่นกัน ในพระวินัยได้มีข้อห้ามภิกษุสงฆ์ตัดต้นไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะต้นไม้ ใหญ่ถึงกับปรับอาบัติภิกษุสงฆ์นั้นๆ ศาสดาของศาสนาส่วนมากให้ความสำคัญแก่ธรรมชาติ เป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป ความนับถือธรรมชาติในแง่ของการเห็นความสำคัญและ คุณค่าได้ถูกเปลี่ยนไปโดยศาสนิกชนรุ่นหลัง ทำให้เกิดเป็นความหลง ความงมงาย ปะปนกับ ความเชื่อเรื่องผีหรือวิญญาณ ทำให้ศาสนาเหล่านี้มีลักษณะทางความคิดของศาสนาพื้นฐาน ดั้งเดิมแฝงอยู่ด้วยเช่นกัน 2.1.3 การมีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ (Magic) ไสยศาสตร์จัดเป็นความเชื่อเก่าแก่ของมนุษยชาตินับตั้งแต่เริ่มมีศาสนา เป็นสิ่งที่คู่กันมา กับอารมณ์อันปราศจากเหตุผลของมนุษย์ ซึ่งเป็นความรู้สึกล้วนๆ ตามธรรมชาติของสัตว์โลก และเป็นความพยายามของมนุษย์ที่จะบังคับบางสิ่งบางอย่างให้เป็นไปตามเป้าหมายของตน โดยอาศัยอำนาจอันลึกลับเหนือธรรมชาตินั้น ท่านพุทธทาสภิกขุ” ได้กล่าวถึงไสยศาสตร์ว่า ไสยศาสตร์เป็นวิธีการพ้นทุกข์ของมนุษย์ใน ระดับหนึ่ง เมื่อครั้งยังขาดปัญญาในการเข้าใจความจริงของโลกและชีวิต ไสยศาสตร์มาจากคำว่า “ไสยะ” แปลว่า “นอนหลับ” ซึ่งตรงข้ามกับ “พุทธะ” แปลว่า “ตื่นอยู่” ไสยศาสตร์จึงมี รากฐานอยู่บนความไม่รู้ด้วยปัญญาโดยอาศัยความเชื่อเป็นพื้นฐาน จึงเหมือนกับเป็นความรู้ ของคนหลับ กล่าวคือ หลับด้วยโมหะและหลับด้วยอวิชชา บุคคลใดที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือมี สัมพันธ์กับศาสตร์ชนิดนี้ จะทำให้หลงติดในวัตถุธรรม กระทำทุกอย่างสนองอารมณ์ความ ต้องการของตน จึงไม่ใช่ทางหลุดพ้นกิเลสและตัณหา สำหรับพุทธศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ทำให้ บุคคลถอนตนออกมาจากความยึดติดในสิ่งทั้งปวง โดยใช้ปัญญาคิดพิจารณาหาเหตุผลในการ ปฏิบัติทุกขั้นตอนจนบรรลุถึงซึ่งนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดที่ทำให้บุคคลเป็นอิสระจากสิ่ง ทั้งหลายทั้งปวงในโลก บุคคลที่สามารถบรรลุได้จนถึงขั้นนี้จึงได้ชื่อว่า “พุทธะ” หมายถึง ผู้ตื่น จากกิเลส ตัณหาและอวิชชา มีปัญญาเห็นแจ้งในสิ่งทั้งหลายว่า ไม่มีสิ่งใดน่าเอา ไม่มีสิ่งใดน่าเป็น บุคคลผู้เป็นพุทธะ จึงเป็นผู้ที่พ้นจากกระแสโลก หมดสิ้นซึ่งความทุกข์อย่างแท้จริง ซึ่ง ไสยศาสตร์นั้นมี 2 แบบ คือ “ไสยดำ” หรือ “ไสยศาสตร์” เป็นไสยศาสตร์ฝ่ายดำที่ให้โทษแก่ มนุษย์ ทำให้เกิดความเสียหาย ความเดือดเนื้อร้อนใจกับมนุษย์ ส่วนแบบ “ไสยขาว” หรือ “ไสยศาสตร์ขาว” เป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายที่ทำคุณให้กับมนุษย์อีกด้วยเช่นกัน * พุทธทาสภิกขุ, พุทธศาสตร์กับไสยศาสตร์, 2526 หน้า 7 -10. 24 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More