แนวคิดเกี่ยวกับศาสนาเต๋า DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 210
หน้าที่ 210 / 481

สรุปเนื้อหา

ศาสนาเต๋าเกิดในจีนประมาณ 61 ปี ก่อนพุทธศักราช เริ่มแรกเป็นเพียงปรัชญาที่ไม่มีพิธีกรรมเฉพาะ ศาสดาคือเล่าจื้อ มีหลักคำสอนสำคัญเกี่ยวกับความกลมกลืนกับธรรมชาติ การดำเนินชีวิตที่ดีและความสุขที่แท้จริง ศาสนาเต๋ามีพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น การบริโภคอาหารเจ และการกราบไหว้บรรพบุรุษ จุดหมายเด่นคือการเข้าถึงเต๋า การมีความสงบและอยู่ในเอกภาพกับธรรมชาติ ขณะนี้มีศาสนิกประมาณ 183 ล้านคนกระจายอยู่ทั่วโลก

หัวข้อประเด็น

-ศาสนาเต๋า
-หลักคำสอน
-พิธีกรรม
-นิกายต่างๆ
-สถานะปัจจุบัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. ศาสนาเต๋า เกิดในประเทศจีน ประมาณ 61 ปี ก่อนพุทธศักราช เริ่มแรกนั้นยังไม่เป็น ศาสนา เป็นเพียงปรัชญาเท่านั้น ไม่มีพิธีกรรม ไม่มีข้อปฏิบัติอะไรเป็นพิเศษมากไปกว่าข้อคิด และคำสอนต่อมาภายหลังจึงได้พัฒนาขึ้นมาเป็นศาสนาที่มีองค์ประกอบตามลักษณะของศาสนา ศาสนาเต๋าเป็นอเทวนิยม ศาสดาของศาสนาเต๋าคือ “เล่าจื้อ” 2. คัมภีร์ของศาสนาเต๋า คือคัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง หลักคำสอนที่สำคัญในศาสนาเต๋า มีดังนี้ 1) สมบัติอันเป็นรัตน 3 ประการ 2) ชีวิตจะดีได้ต้องกลมกลืนกับธรรมชาติ 3) ลักษณะคนดี และชีวิตที่มีสุขสูงสุด 4) ความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่ 3 ประการ และปรัชญาในการดำเนินชีวิต 4 ประการ 3. ศาสนาเต๋ามีพิธีกรรมที่สำคัญดังนี้ พิธีบริโภคอาหารเจ พิธีปราบผีปีศาจ พิธีไล่ผีร้าย พิธีส่งวิญาณผู้ตาย และพิธีกราบไหว้บูชาวิญญาณของบรรพบุรุษ จุดหมายปลายทางสูงสุดของ ชีวิตของศาสนาเต๋า อันเป็นความสุขที่แท้จริงและนิรันดร์ก็คือ เต๋า การที่จะเข้าถึงเต๋า หรือรวม อยู่กับเต่าเป็นเอกภาพเดียวกันได้จะต้องบำเพ็ญตนให้ดำเนินไปตามทางของธรรมชาติให้มีความ สงบระงับ ครองชีวิตในทางที่กลมกลืนกับธรรมชาติสามารถทำใจให้สงบตามทางของ ธรรมชาติ(เต๋า) ชาวเต๋าเชื่อว่าชีวิตในโลกนี้มีครั้งเดียว จากนั้นไปสู่โลกวิญญาณชั่วนิรันดร 4. ศาสนาเต๋ามีอยู่หลายนิกาย แต่ว่ามีนิกายใหญ่ๆ 2 นิกาย คือนิกายเชิง-อิ และนิกาย ชวน-เชน ศาสนาเต๋ามีสัญลักษณ์เป็นรูปเล่าจื้อกระบือ และสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งคือรูป หยิน-หยาง 5. ฐานะปัจจุบันของศาสนา ปัจจุบันนี้ศาสนิกของศาสนาเต๋ามีประมาณ 183 ล้านคน กระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ที่ชาวจีนอาศัยอยู่มาก เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ อยู่ในประเทศจีน ศาสนาเต๋า DOU 195
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More