ข้อความต้นฉบับในหน้า
กลายเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม และเป็นยอดปรารถนาของอิสลามิกชนทุกคน คือขอให้ได้ไป
นมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เมืองเมกกะสักครั้งหนึ่งในชีวิต
ต่อไปนี้ พระมุฮัมมัดก็ทำหน้าที่อย่างกษัตริย์ คือหน้าที่บัญชาการรบ ส่งกองทัพไป
ตีเมืองใกล้เคียงต่าง ๆ เมืองที่ยึดได้ก็ไม่บังคับให้นับถือศาสนาอิสลามโดยตรง แต่ให้ทางเลือก
คือใครนับถือศาสนาอิสลามเสียภาษีน้อย ใครไม่นับถือก็ต้องเสียภาษีมากหน่อย
พระมุฮัมมัดไปสิ้นพระชนม์ที่เมืองเมดินา ในปี พ.ศ. 1175 เมื่ออายุได้ 61 ปีกว่า
13.3 ผู้สืบทอดศาสนา
หลังจากที่พระมุฮัมมัดได้ทรงสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ทายาทผู้สืบทอดศาสนาคือ อบูบักร์ ซึ่ง
เป็นสาวกคู่ทุกข์คู่ยากรุ่นแรกสาวกผู้นี้ได้สืบสิทธิ์ครองบ้านเมืองและเป็นประมุขศาสนาแทนเรียก
ตำแหน่งนี้ว่า “กาหลิบ” คำว่า กาหลิบ มาจากภาษาอาหรับ กาลิฟา (เคาะลีฟะฮ์) แปลว่า ผู้
สืบตำแหน่งแทน อำนาจหน้าที่ของกาหลิบสูงกว่ามหากษัตริย์ธรรมดา เพราะเป็นผู้มีอำนาจ
ทั้งศาสนาจักรและอาณาจักร เป็นวิธีการใหม่ของอิสลาม เพื่อป้องกันการแก่งแย่งแข่งดีกัน
ระหว่างบ้านเมืองกับศาสนา ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ ศาสนาอิสลามจึงทรงไว้ทั้งพระคุณ
และพระเดช
สำหรับตำแหน่งกาหลิบ นี้ มีผู้สืบทอดกันตามลำดับดังนี้
1. อบูบักร์ หรือ อาบูบากร์ อยู่ในตำแหน่ง 2 ปี สิ้นชีพในปี พ.ศ. 1177
2. โอมา หรือ อุมัร ดำรงตำแหน่งอยู่ได้ 10 ปี ยกกองทัพไปตีซีเรีย เปอร์เซีย และ อียิปต์
ได้แต่ความผิดอันร้ายแรงที่คนผู้นี้กระทำคือ การเผาหอสมุดใหญ่ที่เมืองอะเล็กซานเดรีย ทำลาย
หนังสือกรีกและอียิปต์อันชาวโลกถือว่าเป็นมหาสมบัติล้ำค่า ท่านผู้นี้ถูกฆ่าตายในปี พ.ศ. 1187
3. อุษมาน (ค.ศ. 646-656) ได้รับเลือกให้เป็นเคาะลีฟะฮ์ หรือกาหลิบองค์ที่ 3
อุษมานได้ทรงดำเนินงานเผยแผ่ศาสนาอิสลาม โดยทรงนำกองทัพมุสลิมไปปรามอาณาจักร
คาบูลฆาชนีดินแดนบริเวณบอลข่านเฮราต
4.
อลีย์ บุตรเขยในพระมุฮัมมัดเองได้ขึ้นเป็นกาหลิบและเกิดเรื่องแตกแยกจนเป็นเหตุ
ให้เกิดนิกายขึ้น
การสืบทอดตำแหน่งกาหลิบ ได้มีเรื่อย ๆ อย่างนี้จนกระทั่งตุรกีแผ่อำนาจใหญ่หลวงขึ้น
1 ดนัย ไชยโยธา, นานาศาสนา, 2539 หน้า 194.
ศาสนาอิสลาม DOU 385