ข้อความต้นฉบับในหน้า
3.3.2 สมฤติ เป็นคัมภีร์ขั้นสอง แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จำไว้ได้” จึงเป็นสิ่งที่จดจำต่อๆ
กันมา และถ่ายทอดกันสืบต่อมา เป็นคัมภีร์ที่ปราชญ์ทางศาสนาในเวลาต่อมาได้แต่งตำรา
ประกอบขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนให้การศึกษาคัมภีร์พระเวทได้เป็นไปโดยถูกต้องและมีประสิทธิผล
ตำราที่ผู้เป็นปราชญ์ทางศาสนาแต่งขึ้นเป็นอุปการะสนับสนุนคัมภีร์พระเวทนั้นเรียกว่า
คัมภีร์เวทางคศาสตร์ แปลว่า คัมภีร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับองค์แห่งพระเวท ซึ่งมีอยู่รวมทั้งรุ่นเก่า
และรุ่นใหม่ 11 องค์ โดยมีความรู้เกี่ยวกับองค์แห่งพระเวท 6 องค์ กับคัมภีร์อื่น ๆ รวมเป็น 11
องค์ดังต่อไปนี้
1. ศึกษา หรือ อุจจารณวิลาส (สัทศาสตร์) ได้แก่ ตำราว่าด้วยการออกเสียงสอน
ให้เรารู้จักเสียงหนัก เสียงเบา เสียงยาว เสียงสั้น เสียงสูง เสียงต่ำ และให้รู้จักออกเสียงให้
ไพเราะสละสลวย ความรู้เรื่องการออกเสียงถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะบทมนตร์ต่างๆ ต้องจำให้
ขึ้นใจ หรือแม่นยำ ถ้าออกเสียงผิดก็ใช้ไม่ได้
2. ฉันท์ ได้แก่ ตำราเรียนรู้วิธีแต่งฉันท์ หรือโศลก เพราะมันตระหรือสังหิตาต่าง ๆ
ล้วนแต่งเป็นฉันท์ เมื่อเป็นคณะฉันท์แล้วก็จะกำหนดจดจำได้ง่าย และออกเสียงไม่ผิดพลาด วิธี
แต่งโศลกหรือคำฉันท์นั้น แต่งโดยการรวบรวมจากตำราของท่านยาสกะ
3. ไวยากรณ์ ได้แก่ ตำราอธิบายกฎเกณฑ์ทางภาษา การแปลความและตีความใน
บทสังหิตาต่าง ๆ ตำราไวยากรณ์นี้ ปาณินี ได้รวบรวมจากตำราเดิมมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ เมื่อ
ประมาณปีที่ 240 ก่อนคริสต์ศักราช
4. นิรุกติ ได้แก่ ตำราเกี่ยวกับการแปลศัพท์ให้ถูกต้องตามมูลธาตุเดิม หรือราก
ศัพท์เดิมของคำนั้น ๆ ที่มีอยู่ในคัมภีร์พระเวท
5. โชยติส ได้แก่ ตำราดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์ เพื่อให้กุลบุตรได้รู้จักชื่อและ
ลักษณะของดวงดาว และได้รู้ดิถีวัน คืน ขึ้น แรม รู้เดือนปี รู้นิมิตและชะตาดีหรือร้าย และฤกษ์
อันเหมาะแก่การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
6. กัลปะ ได้แก่ ตำราเกี่ยวกับข้อกำหนด กฎเกณฑ์ในการประกอบพิธีกรรม และ
องค์ที่ 6 นี้มีความสำคัญมากเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในกิจพิธีของชีวิตชาวอารยัน จึงต้องมีคู่มือที่
แต่งเป็นสูตร โดยแบ่งย่อยออกเป็น 3 หมวด ดังนี้
1) เศราตสูตร ได้แก่ สูตรว่าด้วยพิธีบวงสรวงบูชา เป็นการย่อใจความใน
คัมภีร์พราหมณ์มาใช้
72 DOU ศาสนศึกษา