ข้อความต้นฉบับในหน้า
9.8.2 กโยหะชินโต ได้แก่ ชินโตฝ่ายประชาชน กระทรวงศึกษาธิการให้ความ
สนับสนุนและควบคุม กโยหะชินโตไม่มีกิจพิธีเกี่ยวข้องกับทางราชการ แยกออกมาตาม
พระบรมราชโองการในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเมย์
ความในพระบรมราชโองการนั้น ปรารภถึงองค์การศาสนาต่าง ๆ อันตั้งขึ้นในประเทศ
เป็นต้น ชินโตจึงควรได้รับการ
สนับสนุนให้เป็นหลักฐาน ไม่เกี่ยวข้องปะปนกับองค์การศาสนาอื่น เพื่อความเป็นระเบียบใน
หมู่พลเมืองตามนโยบายของรัฐที่ให้ถือว่าชินโตเป็นโครงสร้างชาติส่วนศาสนาอื่นที่เข้ามาใหม่
ญี่ปุ่นเป็นหลักฐานแล้ว มีพระพุทธศาสนาและคริสต์ศาสนา
เป็นเพียงเครื่องประกอบโครงสร้างเท่านั้น
กโยหะชินโต หมายถึง กลุ่มกระบวนการทางศาสนาที่อิงอยู่กับศาสนาประจำชาติของญี่ปุ่น
แต่แยกเป็นกลุ่มอิสระหรือนิกายต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มีกำเนิดตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18
เป็นต้นมา โดยจัดเป็น 13 นิกาย และทั้ง 13 นิกายนั้น จัดเป็น 5 หมวดใหญ่ ดังนี้
หมวดที่ 1 นิกายชินโตบริสุทธิ์ มี 3 นิกาย คือ ชินโต ฮองเกียวกุ โตเกียว ชินเกียว และ
ไตชาเกียว
หมวดที่ 2 นิกายชินโตผสมขงจื้อ มี 2 นิกาย คือ ซูเซหะ และโตเซเกียว
หมวดที่ 3 นิกายบูชาภูเขาเป็นเทพเจ้า มี 3 นิกาย คือ ยิกโตเกียว ฟูโซเกียว และ มิตาเกะ
เกียว
หมวดที่ 4 นิกายทำให้บริสุทธิ์หรือลัทธิชำระบาป มี 2 นิกาย คือ ชินซูเกียว และมิโซงิ
หมวดที่ 5 นิกายรักษาโรคด้วยความเชื่อมี 3 นิกาย คือ ฟูโรชิเกียว คองโกเกียว และเทน
ริเกียว
9.9 สัญลักษณ์ของศาสนา
1. โทริ ได้แก่ ประตูอันมีเสา 2 เสา มีไม้ 2 อันวางอยู่ข้างบน ซึ่งมีประจำอยู่ที่ศาลเจ้า
เกือบทุกแห่ง (ศาลเจ้าเล็กๆ อาจไม่มีโทรี) เป็นเครื่องหมายการเข้าสู่บริเวณศาลเจ้าของ
ศาสนาชินโต
2. กระจก อันมีรูปลายดอกไม้
ทั้ง 2 สัญลักษณ์นี้พอจะให้รู้ว่าเป็นศาสนาชินโตได้ในบางกรณี แต่สัญลักษณ์ที่มีมาแต่
โบราณเป็นสมบัติสืบทอดกันมากับบัลลังก์แห่งพระจักรพรรดิและมีความหมายทางคุณธรรม
256 DOU ศาสนศึกษา