แนวทางการบริจาคซะกาตและประเภทผู้มีสิทธิ์รับ DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 421
หน้าที่ 421 / 481

สรุปเนื้อหา

การบริจาคซะกาตเป็นหนึ่งในหลักปฏิบัติสำคัญในศาสนาอิสลาม ที่จำเป็นต้องทำโดยผู้มีทรัพย์สิน โดยอัตราบริจาคจะแตกต่างกันตามประเภททรัพย์สิน เช่น ทรัพย์สินจากการเกษตรจะต้องเสียซะกาต 5% ขณะทรัพย์สินมีค่าอื่น ๆ จะต้องเสีย 2.5% และทรัพย์สินจากเหมืองแร่ต้องจ่าย 20% นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีสิทธิ์รับซะกาตที่อธิบายไว้ในอัลกุรอาน ทั้ง 8 ประเภท เช่น คนอนาถา คนขัดสน และผู้ควรปลอบใจ เป็นต้น เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่อยู่ในความต้องการอย่างแท้จริง.

หัวข้อประเด็น

- แนวทางการบริจาคซะกาต
- ประเภทซะกาต
- อัตราซะกาตจากทรัพย์สินต่าง ๆ
- ผู้มีสิทธิ์รับซะกาตในอิสลาม
- ความสำคัญของซะกาตในศาสนาอิสลาม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เพาะปลูกที่อาศัยฝน และเพียง 5% สำหรับการเพาะปลูกที่ใช้น้ำจากแรงงาน 2. ทองคำ เงิน และเงินตรา เมื่อมีจำนวนเหลือใช้เพียงเท่าทองคำหนัก 5.6 บาท เก็บ ไว้ครอบครองครบรอบปีก็ต้องบริจาคออกไป 2.5% จากทั้งหมดที่มีอยู่ 3. รายได้จากการค้า เจ้าของสินค้าต้องคิดหักในอัตรา 2.5% ในทุกรอบปี บริจาคเป็น ซะกาตทั้งนี้ทรัพย์สินจะต้องไม่น้อยกว่าเทียบน้ำหนักทองคำเท่ากับ 4.67 บาท 4. ขุมทรัพย์เหมืองแร่ เมื่อได้ขุดกรุสมบัติแผ่นดิน หรือเหมืองแร่ได้สัมปทาน จะต้อง จ่ายซะกาต 20% หรือ 1 ใน 5 จากทรัพย์สินทั้งหมดที่ได้ 5. ปศุสัตว์ ผู้ที่ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ คือ วัว ควาย อูฐ แพะ แกะ จะต้องบริจาคใน อัตราที่แน่นอน เป็นซะกาตออกไป เช่น มีวัว ควาย ครบ 30 ตัว ให้บริจาคลูกวัวอายุ 1 ขวบ 1 ตัว ครบ 100 ตัว บริจาคลูกวัวอายุ 2 ขวบ 1 ตัว และ 1 ขวบ 2 ตัว เป็นต้น ผู้มีสิทธิ์รับซะกาต ผู้มีสิทธิ์รับซะกาตตามระบุไว้ในอัลกุรอานมีทั้งหมด 8 ประเภท คือ 1. คนอนาถา ได้แก่ ผู้ยากจนไม่มีทรัพย์สินหรืออาชีพใด ๆ 2. คนขัดสน ได้แก่ ผู้มีอาชีพ มีรายได้ แต่ไม่เพียงพอกับการใช้จ่ายจริง 3. เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับซะกาต ได้แก่ บุคคลที่ได้รับการไว้วางใจจากรัฐให้จัดการเก็บ รวบรวมและจ่ายซะกาต 4. ผู้ควรปลอบใจ ได้แก่ ผู้เพิ่งเข้าอิสลาม หรือเตรียมเข้าอิสลาม หรืออาจจะเข้าอิสลาม 5. ทาสที่ต้องการทรัพย์ไปไถ่ตัวเองให้เป็นอิสระ รับซะกาตเพียงเท่าที่จะนำไปไถ่ตัวเอง 6. ผู้เป็นหนี้ หมายถึง เป็นหนี้ในการประกอบสัมมาอาชีวะ หรือกิจการกุศลทั่วไปรับ ซะกาตเพียงเท่าที่เป็นหนี้ 7. ผู้สละชีวิตในแนวทางพระเจ้า รับซะกาตเพียงค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินการ 8. ผู้เดินทาง หมายถึง เมื่อเดินทางแล้วหมดทุนที่จะเดินทางกลับมีสิทธิ์รับซะกาตได้ เพียงค่าใช้จ่ายที่จำเป็น 406 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More