ความเชื่อและพิธีกรรมในศาสนาฮินดู DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 101
หน้าที่ 101 / 481

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สำรวจความเชื่อในศาสนาฮินดูเกี่ยวกับการบูชาพระอินทร์และพระสรัสวดี พร้อมวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันบูชาพระยายม พระวิษณุ และวันเฉลิมฉลองอื่น ๆ ซึ่งผู้คนจะทำพิธีเพื่อสร้างสิริมงคล เช่น การถวายอาหารและประทีปเพื่อบูชาพระเจ้า การล้างบาปที่แม่น้ำ และการเล่นสีในวันโฮลี นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงระหว่างพิธีกรรมกับความเชื่อในการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะในช่วงเดือนที่ต่างกัน โดยเชื่อว่าการบูชาพระอิศวรและพระนารายณ์จะช่วยในการเพาะปลูกในฤดูกาลต่าง ๆ.

หัวข้อประเด็น

-พระเจ้าที่ควรบูชา
-วันที่สำคัญในศาสนาฮินดู
-พิธีกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติ
-ความเชื่อเกี่ยวกับความสิริมงคล
-การบูชาพระเพื่อเพิ่มสติปัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระสรัสวดี พระอินทร์ เมื่อบูชาแล้วต้องไปซื้อเสื้อผ้าและของใช้ใหม่ ๆ จะได้เกิดสิริมงคล แรม 14 ค่ำ พวกพราหมณ์จะบูชาพระยายมในตอนกลางคืน มีการจุดประทีปตาม ไฟเป็นการถวายพระยายม เมื่อตายไปจะไม่ไปนรก แต่ถ้าหากทำกรรมหนักขนาดลงนรกก็จะมี ไฟนำทางอันเป็นผลมาจากการจุดประทีปถวายพระยายมนั่นเอง อนึ่งในวันนี้ เป็นวันเกิดของหนุมาน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นปางหนึ่งของพระศิวะ แรม 15 ค่ำ เป็นวันบูชาเทพทั้ง 5 พระองค์ และเป็นวันบูชาพระลักษมี เดือน 12 ขึ้น 1 ค่ำ เป็นวันถวายอาหารเทพเจ้าทั้งหมด 56 อย่าง ขึ้น 2 ค่ำ เป็นวันที่พี่ชายหรือน้องชายต้องไปกินอาหารบ้านพี่สาวหรือน้องสาว และ จะต้องนำของขวัญไปให้ด้วย จากนั้นพี่สาวหรือน้องสาวจะเจิมหน้าผากให้เพื่อความเป็นสิริมงคล ขึ้น 12 ค่ำ เป็นวันบูชาพระรามนะ ปางหนึ่งของพระวิษณุ ขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันบูชาพระวิษณุ เดือนยี่ วันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันบูชาพระวิษณุ และถวายประทีปแก่เทพเจ้าในเทวาลัย วันขึ้น 6 ค่ำ ถึงแรม 6 ค่ำ รวม 15 วัน เป็นวันพระราชพิธีตรียัมปวาย เป็นพิธีเริ่ม การเพาะปลูกโดยบูชาพระอิศวรและพระนารายณ์ เดือน 3 วันขึ้น 5 ค่ำ บูชาพระสรัสวดีจะทำให้สติปัญญาดีขึ้น นอกจากนี้ในวันเดียวกันยัง บูชาพระกามเทพ และพระวิษณุ ประชาชนจะพากันไปล้างบาปที่แม่น้ำ วันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันบูชาเทพเจ้า แล้วแต่ใครศรัทธาองค์ใดก็บูชาองค์นั้น แรม 14 ค่ำ เป็นวันศิวราตรี พวกพราหมณ์บูชาพระศิวะตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยการ อดอาหารและอดนอน เดือน 4 วันขึ้น1 5 ค่ำ เป็นวันเผาของสกปรก แรม 1 ค่ำ เรียกวันโฮลี มีการเล่นสาดสีใส่กัน เพื่อให้เชื้อโรคสิ้นไป วันนี้อาจเรียก 86 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More