ข้อความต้นฉบับในหน้า
พลเมือง เป็นผู้ครองอาณาจักร เป็นพระประมุขของศาสนาจักรทั้งสิ้น และเป็นนิมิตหมายแห่ง
ความไม่สูญสลายแห่งเทพอำนาจ พระองค์คือเทพเจ้าผู้สถิตอยู่ในร่างของมนุษย์เป็นต้น
พระบรมราชโองการของสมเด็จพระจักรพรรดิคือ โองการแห่งสวรรค์
2. การบูชาในฝ่ายราชวงศ์ เป็นรัฐพิธีเกี่ยวกับสมเด็จพระจักรพรรดิและราชวงศ์ ขาด
ไม่ได้ ในพระราชวังมีศาลเจ้าตั้งอยู่ 4 สถานที่ใน 4 ทิศ ดังนี้
2.1 สถานที่หนึ่ง สร้างอุทิศแด่สุริยเทพ เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีแรกนาขวัญ
จำลองมาจากมหาศาลเจ้าอิเสะ ที่เมืองนารา ศูนย์กลางแห่งพระจักรพรรดิญี่ปุ่น เชื่อกันว่า
สุริยเทพจะเสด็จมาเป็นประธานพิธีในวันนั้น
2.2 สถานที่สอง สร้างอุทิศแด่วิญญาณของอดีตพระจักรพรรดิเป็นสถานที่
ประกอบพิธีบูชาดวงวิญญาณของอดีตพระจักรพรรดิ
2.3 และ 2.4 สถานที่สามและสถานที่สี่ กำหนดเป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีอื่น ๆ
สุดแต่สมเด็จพระจักรพรรดิทรงกำหนดตามพระราชอัธยาศัย
3. การบูชาในครอบครัว กำหนดให้พลเมืองปลูกศรัทธาลงในศาสนาชินโตเพื่อรวม
โครงสร้างของชาติเหมือนกันหมดทั่วประเทศ
ครอบครัวญี่ปุ่น (แม้นับถือพระพุทธศาสานา) ทุกบ้านตั้งที่บูชาชินโตที่แท่นบูชา มีศาลเจ้า
เล็กๆ มีเครื่องสังเวย เช่น โทรี (ประตูวิญญาณ) กระจก กระดาษสีขาว เชือก อาหาร ผลไม้
และบางทีก็มีเหล้าสาเกด้วย เป็นต้น
ชาวญี่ปุ่นผู้เคร่งครัดในศาสนา ตื่นนอนแต่เช้า ชำระร่างกายให้สะอาด เข้าไปนั่งหน้าแท่น
บูชาโค้งคำนับ ตบมือ 2 ครั้ง โค้งคำนับเป็นสมาธิขณะหนึ่ง เสร็จแล้วจึงออกไปประกอบหน้าที่
การงานประจำวัน
เด็กเกิดใหม่อายุได้ 7 วัน เขาก็อุ้มไปตั้งชื่อตรงหน้าแท่นบูชาแล้วจึงทำพิธีรับขวัญเด็ก ครั้น
เด็กอายุได้ 31 หรือ 33 วัน ก็พาเด็กไปไหว้ศาลเจ้านอกเมือง ตามวัดบ้าง ตามภูเขาบ้าง ชาว
ญี่ปุ่นโบราณมีประเพณีที่ว่า การเกิดหรือการตายต้องนิมนต์นักบวชไปทำพิธีหากไม่มีนักบวช
หัวหน้าครอบครัวจะเป็นผู้ทำพิธีเอง
ก๊กกะชินโตหรือชินโตแห่งรัฐในสมัยใหม่ ได้มีการปรับปรุงคำสอนใหม่เป็นลัทธิชาตินิยม
กว้างขวางและรุนแรงออกไปเป็นระยะ จากขอบเขตแห่งโครงสร้างชาติออกไปเป็นการสร้างทวีป
และจากทวีปออกไปถึงโลก
ศ า ส น า ชิ น โต DOU 255