อวตารของพระนารายณ์ในศาสนาฮินดู DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 94
หน้าที่ 94 / 481

สรุปเนื้อหา

อวตารของพระนารายณ์ประกอบด้วยการลงมาของพระองค์ในหลายรูปแบบ เช่น วราหาวตารเพื่อต่อสู้กับหิรัณยักษ์, นรสิงหาวตารเพื่อปราบยักษ์, และรามาวตารเพื่อปราบทศกัณฐ์ ทั้งนี้ยังรวมถึงการลงมาของพระพุทธเจ้าในฐานะอวตาร ซึ่งสะท้อนการประสานวิถีของศาสนาและความศรัทธาในเทพ เจ้าในศาสนาฮินดูโดยมุ่งเน้นการช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นทุกข์ จุดมุ่งหมายของการอวตารเหล่านี้คือการนำความดีคืนสู่โลกและกำจัดความชั่วร้ายตามหลักการของฮินดู

หัวข้อประเด็น

-อวตารของพระนารายณ์
-การลงมาในหลายรูปแบบ
-การต่อสู้กับความชั่วร้าย
-ศาสนาฮินดู
-บทบาทของพระพุทธเจ้าในฮินดู

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. วราหาวตาร อวตารลงมาเป็นหมูป่าเพื่อปราบ หิรัณยักษ์ ผู้จับโลกกดลงไปใต้ทะเล โดยใช้เขียวดุนให้โลกสูงขึ้นจนมนุษย์ได้อาศัยกระทั่งถึงทุกวันนี้ 4. นรสิงหาวตาร อวตารลงมาเป็นคนครึ่งสิงห์ เพื่อปราบยักษ์ชื่อ หิรัณยกศิป ผู้ได้ พรจากพระพรหมว่าจะไม่มีใครฆ่าตายได้ ถึงกับก่อความเดือดร้อนทั่วโลก 5. วามนาวตาร อวตารลงมาเป็นคนค่อม เพื่อปราบยักษ์ชื่อ พลิ มิให้มีอำนาจ ครองโลกทั้งสาม และได้ไล่ยักษ์พลิให้ไปอยู่ใต้บาดาล 6. ปรศุรามาวตาร อวตารลงมาเป็นปรศุรามถือขวานเป็นบุตรพราหมณ์ชื่อ ยมทัศนี ผู้สืบสกุลมาจากภาคเพื่อป้องกันมิให้กษัตริย์ครอบครองอาณาจักรเหนือวรรณะพราหมณ์ 7. รามาวตาร อวตารลงมาเป็นรามจันทร์ คือเป็นพระรามในมหากาพย์ รามายณะ เพื่อปราบท้าวราพณ์หรือทศกัณฐ์ 8. กฤษณาวตาร อวตารลงมาเป็นพระกฤษณะ ผู้เป็นสารถีขับรถศึกให้อรชุนเพื่อ ปราบคนชั่วในมหากาพย์มหาภารตะ 9. พุทธาวตาร อวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้าประกาศหลักธรรมช่วยมนุษย์ให้พ้นทุกข์ เหตุผลที่ฮินดูดึงเอาพระพุทธเจ้ามาเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์นั้น นับเป็นการกลืน พระพุทธศาสนาได้อย่างสนิทอีกวิธีหนึ่ง 10. กัลกยาวตาร อวตารลงมาเป็นกัลกี บุรุษขี่ม้าขาวถือดาบมีแสงแปลบปลาบดัง ดาวหาง เพื่อปราบคนชั่วและสถาปนาธรรมขึ้นใหม่ในโลก พระนารายณ์มีพระชายาชื่อ ลักษมี ผู้เป็นเทพีแห่งความงาม ผู้อำนวยโชคลาภ ความมั่งคั่ง และผู้มีใจเมตตาปราณี เมื่อพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นวามนาม ปรศุราม และ พระราม เคยเสด็จมาเป็นนางปทุมา (กมลา) นางธรณี และนางสีดาตามลำดับ ต่อไปนี้ ตรีมูรติ เป็นลักษณะเทวะที่แสดงออกมาในรูปของบุคลาธิษฐานให้รู้ภาวะทั้ง 3 1. อุปาทะ โลกมีเกิดเป็นเบื้องต้น 2. ฐิติ การรักษาให้ดำรงไว้ 3. ภังคะ มีการทำลายเพราะโลกขาดความดี และให้วิญญาณมนุษย์และสัตว์ได้ พักผ่อน ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู DOU 79
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More