ข้อความต้นฉบับในหน้า
เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นยังได้รับอารมณ์ทั้งที่น่าพึงใจและไม่น่าพึงใจ ยังเสวยสุขและ
ทุกข์อยู่เพราะความที่อินทรีย์ 5 เหล่าใดยังไม่เสื่อมสลาย อินทรีย์ 5 เหล่านั้นของเธอยัง
ตั้งอยู่นั่นเทียว ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่ง
โมหะของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่าสอุปาทิเสสนิพพาน ภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้ของภิกษุนั้นเป็นสภาพอันกิเลส
ทั้งหลายมีตัณหา เป็นต้น ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ภิกษุทั้งหลาย นี้เรา
เรียกว่าอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพาน 2 ประการนี้แล
ข้อความพระพุทธพจน์ดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างสอุปาทิ
เสสนิพพานกับอนุปาทิเสสนิพพานเมื่อบุคคลดับกิเลสคือราคะโทสะ และโมหะได้ก็ชื่อว่าได้เข้า
ถึงสอุปาทิเสสนิพพาน พระพุทธศาสนาเรียกบุคคลผู้เข้าถึงนิพพานชนิดนี้ว่าพระอรหันต์ เมื่อ
ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปก็ย่อมได้รับอารมณ์ทั้งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ ยังเสวยทั้งสุขเวทนาและ
ทุกขเวทนา เพราะอินทรีย์ 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายของท่านยังทำงานได้อย่างปกติเช่น
เดียวกับของบุคคลทั่วไป แต่เนื่องจากท่านละกิเลสได้เด็ดขาดสิ้นเชิงแล้วเมื่อกระทบอารมณ์
และเวทนาอย่างใดอารมณ์และเวทนาอย่างนั้นย่อมไม่สามารถทำให้จิตของท่านหวั่นไหวไปตาม
คือไม่เกิดความยินดียินร้ายเพราะอารมณ์และเวทนานั้นๆ เมื่อชีวิตของพระอรหันต์สิ้นสุดลง
ก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงอนุปาทิเสสนิพพาน เวทนาทั้งปวงย่อมดับสิ้นพร้อมกับการสิ้นสุดของชีวิต
3. ความมีอยู่จริงของภาวะที่เรียกว่า นิพพาน
ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา ภาวะสูงสุดที่เรียกว่านิพพานที่ผู้ปรารถนาความ
หลุดพ้นจากทุกข์โดยสิ้นเชิงจึงมุ่งเข้าถึงนั้น เป็นภาวะที่มีอยู่จริง และผู้ดับกิเลสได้หมดแล้วเข้า
ถึงได้จริง หลักฐานเรื่องนี้มีพระพุทธพจน์ที่ปรากฏอยู่ในขุททกนิกาย อุทาน และอิติวุตตกะ ตรัส
ยืนยันไว้ว่า
อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตน์ ยตฺถ เนว ปฐวีน อาโป น เตโช น วาโย น อากาสานัญจายตน์
น วิญญาณญจายตนํ น อากิญฺจญฺญายตน์ น เนวสนาสัญญายตน์ นาย โลโก น ปรโลโก
น
เ อุโภ จนฺทิมสุริยา ตมห์ ภิกฺขเว เนว อาคติ วทามิ น ค น จิ น จุติ น อุปปตฺติ อปฺปติฏฐ์
อปปวตฺต์ อนารมฺมณเมว ต์ เสวนฺโต ทุกขสสาติ
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม 25, 2539 หน้า 158.
158 DOU ศ า ส น ศึกษา