คุณสมบัติของศาสนทูตในศาสนาอิสลาม DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 409
หน้าที่ 409 / 481

สรุปเนื้อหา

คุณสมบัติของศาสนทูตในศาสนาอิสลามมี 4 ประการ ได้แก่ วาจาสัตย์, อะมานะฮ์, ตับลิค, และฟะตอนะฮ์ โดยศาสดาทุกท่านเป็นมนุษย์ธรรมดา มีการดำเนินชีวิตที่ปกติ เพื่อเป็นตัวอย่างให้ประชาชนทั่วไปได้ปฏิบัติตาม คำสอนของศาสดาที่ได้รับจากพระเจ้านั้นสำคัญในการเผยแผ่ศาสตร์และเป็นแบบอย่าง รวมถึงการแบ่งประเภทศาสนทูตเป็น นบี และ เราะซูล ที่มีหน้าที่ต่างกันในการนำบัญญัติของพระเจ้าไปสู่ผู้คน.

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติศาสนทูต
-การเผยแผ่ศาสนาอิสลาม
-นบีและเราะซูล
-การเป็นแบบอย่างในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คุณสมบัติของศาสนทูต มี 4 ประการคือ 1. คิดกัน คือ วาจาสัตย์ ไม่พูดเท็จ 2. 3. อะมานะฮ์ คือ ไว้วางใจได้ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่กระทำความชั่วฝ่าฝืนบทบัญญัติ ของอัลลอฮ์ ตับลิค คือ นำศาสนามาเผยแผ่แก่มนุษย์โดยทั่วถึงไม่ปิดบังแม้แต่น้อย 4. ฟะตอนะฮ์ คือ เฉลียวฉลาด บรรดาศาสดาทุกท่าน เป็นมนุษย์ธรรมดานี่เอง จึงดำรงชีวิตแบบสามัญชนทั่วไป มี การกินอยู่หลับนอน แต่งงานและประกอบอาชีพ สาเหตุที่พระเจ้าเลือกคนธรรมดาขึ้นมาเป็นศาสดา ก็เพราะความเป็นศาสดา หมาย ถึง การเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตามคำสอนของตัวเองที่ได้รับมาจากพระเจ้า หากศาสดาไม่ใช่คนสามัญชนธรรมดาแบบเดียวกับประชาชนทั่วไป คำสอนก็จะ ขาดการนำไปปฏิบัติ ซึ่งในที่สุดคำสอนก็จะหมดความหมายและแน่นอน ก็จะไม่มีใครพร้อมที่ จะนำไปประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอีกด้วย ทุกสิ่งทุกอย่างที่ศาสดาสอนผู้อื่น ท่านก็ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย คำสอนที่ท่านสอนออก ไปจึงเป็นกฎหมายที่ท่านต้องปฏิบัติตาม เพราะสิ่งที่ท่านสอนก็คือ บทบัญญัติที่พระเจ้าทรง ดำรัสผ่านมาทางท่านนั่นเอง ศาสนาอิสลามจำแนกพระศาสนทูตหรือผู้แทนของพระอัลเลาะห์หรือผู้รับโองการ จากพระเจ้าให้นำบัญญัติของพระองค์มาสั่งสอน ชี้แนะแก่มวลมนุษย์ด้วยกัน ในแต่ละยุคแต่ละ สมัยออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ผู้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของ พระเจ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ศาสนทูตประเภทนี้เรียกว่า “นบี” 2. ผู้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของ พระเจ้าทำการเผยแผ่บทบัญญัตินั้นแก่มวลมนุษย์ชาติทั่วไปด้วยศาสนทูตประเภทนี้เรียกว่า “ซูล” หรือ “เราะซูล” 1 มานพ วงศ์เสงี่ยม, หลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม, 2511 หน้า 38. 2 เสาวนีย์ จิตต์หมวด, วัฒนธรรมอิสลาม, 2538 หน้า 28. 394 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More