ข้อความต้นฉบับในหน้า
ณ ภูเขาโกเซียซัวอันไกลลิบมีมนุษย์ทิพย์อยู่คนหนึ่งมีผิวขาวบริสุทธิ์ดุจหิมะ กิริยา
มารยาทอ่อนโยนสงบเสงี่ยมดุจดรุณีสาว มีลมและน้ำค้างเป็นอาหาร ใช้ปุยเมฆบ้าง มังกรบ้าง
เป็นพาหนะเที่ยวไปทั่วมหาสมุทรทั้ง 4 และเนื่องจากมีสมาธิแก่กล้าจึงสามารถบันดาลให้
พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ในที่ท่านผ่านไป..... อันตรายทั้งหลายไม่สามารถกล้ำกลาย
ทำร้ายท่านได้ แม้น้ำท่วมโลกก็ไม่อาจท่วมท่าน ไฟที่ร้อนแรงที่สุดสามารถเผาก้อนหินหรือ
หรืออากาศจะเย็นเป็นหิมะทำลายสิ่งทั้งหลายก็
เหล็กให้ละลายได้ก็ไม่อาจทำอันตรายท่านได้
ไม่อาจทำให้ท่านหนาวตาย.... สรุปแล้วไม่มีอะไรสามารถทำให้ท่านเดือดร้อนหวาดหวั่นพรั่น
พรึงได้ส่วนฤาษีบ้านยังตั้งอาศรมอยู่ใกล้เมืองยังเกี่ยวข้องกับสังคมแต่ก็ไม่ถูกอารมณ์โลกครอบงำ
เพราะรู้แจ้งแทงตลอดในเต๋า จึงไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์และนิฏฐารมณ์สัตยบุคคลเวลาหลับก็
ไม่ฝันเวลาตื่นก็ไม่วิตกกังวล ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่ยินดีในการเกิดไม่ยินร้ายต่อการตาย
เห็นความเกิดและความตายเป็นเรื่องธรรมดา
ส่วนความเชื่อของศาสนาเต๋าแบบเต่า เจียว” ก็เป็นไปในทางอภินิหารและความลี้ลับ อย่าง
เช่นจาง เต๋า หลิง ผู้นำศาสนาเต๋าในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ก็ได้ไปตั้งสำนักที่ภูเขา โฮ หมิง ซาน
มณฑลเสฉวน กล่าวกันว่า จาง เต่า หลิง ได้พบกับเหลาจื้อซึ่งกลายเป็นอมตะที่นั่น เหลาจื้อได้
สอนจาง เต๋า หลิงว่า มีภูตผีปีศาจร้ายมากมายอยู่ทั่วไป คอยนำโรคและความตายตลอดทั้ง
ความหายนะต่าง ๆ มาให้มนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จึงควรรู้วิธีที่จะเอาชนะวิญญาณร้ายเหล่านั้น
เพื่อจะได้มีชีวิตยืนยาวไม่เจ็บป่วยและถ้าเก่งกล้าคาถาอาคมมากก็อาจนำภูตผีปีศาจร้ายมาใช้งาน
เช่น ให้ออกรบแทนทหารได้ นอกจากนี้เหลาจื้อยังได้มอบดาบกายสิทธิ์ 2 เล่มให้จาง เต่า หลิง
ด้วย
สำหรับจุดมุ่งหมายสูงสุดของทั้ง 2 นิกายก็เพื่อเข้าถึงเต๋าเหมือนกันจะต่างก็แต่แบบเต๋าเจีย
มุ่งเข้าถึง เต๋า จิตจะมีแต่ความสงบสุขเพราะรู้เท่าทันความจริง ส่วนแบบเต๋า เจียวมุ่งเข้าหาเต๋า
เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ทำเสน่ห์เล่ห์กล ดูโชคชะตา รักษาโรค คงกะพันชาตรี
และเหาะเหินเดินอากาศ เป็นต้น
7.6 สถานที่ทำพิธีกรรม
วัดหรือสถานที่ทำพิธีกรรมของลัทธิเต๋ามีลักษณะเหมือนศาลเจ้าของจีนโดยทั่ว ๆ ไปเพียง
แต่การตบแต่งภายในที่จะตั้งแท่นที่บูชานั้น ออกจะพิถีพิถันและมีข้อกำหนดกฎเกณฑ์มากมาย
แม้ในไต้หวันซึ่งเป็นแหล่งที่มีผู้นับถือลัทธิเต๋ามากก็ยังมีการปฏิบัติในเรื่องนี้ต่างกันออกไประหว่าง
Liu Da. The Tao and Chinese Culture, 1981 p.71.
ศาสนาเต๋า DOU 207