การบวชในพระพุทธศาสนา DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 154
หน้าที่ 154 / 481

สรุปเนื้อหา

การบวชในพระพุทธศาสนาเริ่มจากการให้สาวกไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอบวช และในที่สุดพระองค์ทรงอนุญาตให้สาวกอุปสมบทได้โดยการโกนผมและหนวดเครา พร้อมกับการปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัย การเผยแพร่พระศาสนาได้ดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง พร้อมกับสาวกและพุทธบริษัท 4ในช่วงเวลากว่า 44 ปีของพระพุทธเจ้า การรู้จักและการปฏิบัติธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

หัวข้อประเด็น

-การบวชในพระพุทธศาสนา
-การเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
-ติสรณคมนูปสัมปทา
-พุทธบริษัท 4
-การเผยแพร่พระศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บางคนก็ขอบวช แต่สาวกเหล่านั้นยังให้บวชเองไม่ได้ จึงต้องพากุลบุตรเหล่านั้นมาเฝ้า พระพุทธเจ้าเพื่อให้พระองค์บวชให้เอง ทำให้ได้รับความลำบากในการเดินทางมาก ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้สาวกเหล่านั้นอุปสมบท กุลบุตรได้โดยโกนผมและหนวดเครา เสียก่อน แล้วจึงให้นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด นั่งคุกเข่าพนมมือกราบภิกษุแล้วเปล่งวาจาว่า “ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ” รวม 3 ครั้ง การอุปสมบทนี้เรียกว่า “ติสรณคมนูปสัมปทา” คือ อุปสมบทโดยวิธีให้ปฏิญญาณ ตนเป็นผู้ถึงไตรสรณคมน์ ตั้งแต่พรรษาที่ 11 ที่ทรงได้สาวกเป็นพระอรหันต์จำนวน 60 องค์แล้ว พระพุทธองค์ ก็ได้อาศัยพระมหากรุณาคุณทำการประกาศเผยแพร่คำสั่งสอน จนได้สาวกเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นพุทธบริษัท 4 ขึ้นอย่างแพร่หลายและมั่นคง การประกาศพระศาสนา ของพระองค์ได้ดำเนินการไปอย่างเข้มแข็ง โดยการจาริกไปยังหมู่บ้านชนบทน้อยใหญ่ใน แว่นแคว้นต่างๆ ทั่วชมพูทวีปตลอดเวลาอีก 44 พรรษา คือ พรรษาที่ 2-45 ดังนี้ พรรษาที่ 2 เสด็จไปยังเสนานิคมในตำบลอุรุเวลา ในระหว่างทางได้สาวกกลุ่ม ภัททวัคคีย์ 30 คน และที่ตำบลอุรุเวลาได้ชฏิล 3 พี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ กับศิษย์ 1,000 คน เทศนาอาทิตยาปริยายสูตรที่คยาสีสะ เสด็จไปยังราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ กษัตริย์พิมพิสารทรงถวายสวนเวฬุวันแด่คณะสงฆ์ ได้พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ เป็นพระอัครสาวก อีก 2 เดือนต่อมาเสด็จไปยังกบิลพัสดุ์ ทรงพำนักที่นิโครธาราม ได้สาวก มากมาย เช่น นันทะ ราหุล อานนท์ เทวทัต และพระญาติอื่น ๆ อนาถปิณฑิกะเศรษฐีอาราธนา ไปยังกรุงสาวัตถีแห่งแคว้นโกศล ถวายสวนเชตวันแด่คณะสงฆ์ ทรงจำพรรษาที่นี่ พรรษาที่ 3 นางวิสาขาถวายบุพพาราม ณ กรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษาที่นี่ พรรษาที่ 4 ทรงจำพรรษาที่เวฬุวัน ณ กรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พรรษาที่ 5 โปรดพระราชบิดาจนบรรลุอรหัตตผล ทรงไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ระหว่าง พระญาติฝ่ายสักกะกับพระญาติฝ่ายโกลิยะเกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำโรหินี ทรง บรรพชาอุปสมบทพระนางปชาบดีโคตมี และคณะเป็นภิกษุณี บรรพต 1 พรรษาที่ 6 ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในกรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษาบนภูเขามังก พรรษาที่ 7 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี ระหว่างจำพรรษาเสด็จขึ้นไป พิทูร มลิวัลย์ และไสว มาลาทอง, พุทธกิจ 45 พรรษา, 2531 หน้า 21-23 ศาสนา พุทธ DOU 139
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More