ข้อความต้นฉบับในหน้า
1. สมาธิชั่วขณะซึ่งเกิดแก่สามัญบุคคลทั่วไปในเวลาปฏิบัติภารกิจประจำวัน
เรียกว่า “ขณิกสมาธิ”
2. สมาธิที่จวนจะแน่วแน่สมาธิที่ตั้งจิตมั่นกว่าระดับแรกเรียกว่า “อุปจารสมาธิ”
3. สมาธิที่แนบสนิท เป็นสมาธิระดับฌานขั้นต่าง ๆ อันเป็นระดับสูงสุด เรียกว่า
“อัปปนาสมาธิ”
สัมมาสมาธิ หมายถึงสมาธิระดับฌาน (หมายถึงข้อที่ 3) ซึ่งมีอยู่ 4 ขั้น ดังต่อไปนี้
1. ปฐมฌาน มีองค์ประกอบ 5 คือ วิตก ความตรึกแต่ลมหายใจเข้าและออก
วิจาร ความตรองหรือพิจารณาลมหายใจเข้าและออก ปีติ ความอิ่มเอิบใจ สุข
เสวยสุขทางกาย และใจอันเกิดจากวิเวก เอกัคคตา ความมีสติเพ่งอยู่อย่าง
แน่วแน่
2. ทุติยฌาณ มีองค์ประกอบ 3 คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
3. ตติยฌาน มีองค์ประกอบ 2 คือ สุข เอกัคคตา
4. จตุตถฌาน มีองค์ประกอบ 2 คือ เอกัคคตา อุเบกขา
5.4.6 นิพพาน
ด้วยเหตุที่ชีวิตของมนุษย์เต็มไปด้วยความทุกข์นานัปการ ทั้งทุกข์กาย และทุกข์ใจ
ซึ่งผู้เกิดมามีชีวิตอยู่ในโลกไม่สามารถจะหลีกหนีให้พ้นได้ ศาสนาพุทธจึงสอนให้มนุษย์มุ่ง
ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความหลุดพ้นจากทุกข์โดยสิ้นเชิงและตลอดไป ภาวะสูงสุดที่เมื่อเข้าถึงแล้ว
ความทุกข์ย่อมดับสิ้นไปตลอดกาลนี้ได้แก่ภาวะที่เรียกว่า “นิพพาน”
1. ความหมายของนิพพาน
คำว่า นิพพาน โดยความหมายของศัพท์ แปลว่า ความดับ โดยใจความหมายถึง
ความดับกิเลสและกองทุกข์ อีกนัยหนึ่งหมายถึง ภาวะที่ออกจากตัณหา หรือภาวะก้าวออก
จากกิเลสเครื่องร้อยรัด เป็นภาวะที่เมื่อเข้าถึงแล้วทำให้กิเลสและทุกข์ทั้งปวงดับไปโดยสิ้นเชิง
เป็นสมุจเฉทปหาน คือ เมื่อกิเลสและทุกข์ทั้งปวงดับสิ้นไปแล้วก็จะไม่กลับเกิดมีขึ้นมาอีก ผู้ที่
เข้าถึงนิพพานดังกล่าวนี้ ศาสนาพุทธเรียกว่า พระอรหันต์
ในทางปฏิบัติ ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ก็คือ ผู้ที่ได้ปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ และปัญญา
หรือหลักอริยมรรคมีองค์ 8 จนได้บรรลุมรรคผลขั้นสูงสุดตามคำสอนของศาสนาพุทธ อัน
ได้แก่อรหัตตมรรคและอรหัตตผล กิเลสที่เรียกว่าสังโยชน์ที่ยังเหลืออยู่จากการทำลายของ
156 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า