ข้อความต้นฉบับในหน้า
1. หลักศรัทธา หรือ ความเชื่อในศาสนา เรียกว่า อีมาน
2. หลักปฏิบัติ หรือ หน้าที่ในศาสนา เรียกว่า อิบาดะห์
3. หลักคุณธรรม หรือ หลักความดี เรียกว่า อิห์ซาน
หลักการทั้ง 3 ส่วนนี้ ผู้นับถือศาสนาอิสลามทั้งที่สืบทอดจากบิดามารดามาแต่เดิม หรือ
จะต้องศึกษาให้เข้าใจโดยถ่องแท้และสามารถประพฤติปฏิบัติอย่างต่อ
เพิ่งเข้ารับใหม่ก็ตาม
เนื่องตลอดไป
13.6.2
หลักการอันเป็นข้อบังคับสำหรับสังคม (ฟัรดูกิฟายะฮ์)
ได้แก่ หน้าที่ต่าง ๆ ทางสังคม ซึ่งนับตั้งแต่สังคมหน่วยเล็กสุด คือ ครอบครัวจนถึง
สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือประเทศชาติ
บุคคลจะต้องรับผิดชอบสังคมด้านต่างๆ มากมาย ซึ่งอิสลามได้มีบัญญัติให้ทุกคน
ได้แสดงความรับผิดชอบนั้นอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ ด้าน ทุกคนต้องเสียสละเพื่อครอบครัว เพื่อ
สังคม เพื่อประเทศชาติ และเพื่อศาสนา สำหรับมุสลิมแห่งสยามก็คือ ต้องเสียสละเพื่อชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักของชาติไทยเรา
โดยหลักการนี้ ศาสนาอิสลามจึงมิได้วางบทบัญญัติแต่เฉพาะในด้านการปฏิบัติ
ศาสนาอย่างเดียว แต่ได้วางบทบัญญัติและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประเทศชาติเอาไว้ด้วย ใน
อิสลามจึงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเก็บภาษี การจัดกองทัพ การบริหารประเทศ การทูต เป็นอาทิ
เป็นอีกส่วนหนึ่งแห่งคำสอน
(1) หลักศรัทธา หรือ ความเชื่อในศาสนา (อีมาน)
คือหลักคำสอนที่มุสลิมทุกคนจะต้องเชื่อว่าเป็นความจริงแท้และต้องยึดถือ
อย่างมั่นคง แม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยสัมผัสทั้ง 5 ก็ตาม ซึ่งหลักศรัทธามี 6 ประการ คือ
1) ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า หมายถึง ต้องเชื่อมั่นและศรัทธาในพระเจ้า ซึ่ง
เรียกว่า “อัลลอฮ์ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าและมีอยู่จริง มุสลิมทุกคนต้องศรัทธาในอัลลอฮ์
ว่าเป็นพระเจ้าองค์เดียว และเป็นผู้ทรงคุณลักษณะดังนี้ คือ ทรงมีอย่างแน่นอน ไม่มีข้อสงสัย ทรง
มีมาก่อนสรรพสิ่งทั้งปวง ทรงเป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างในเอกภพ ทรงดำรงอยู่ได้โดยพระองค์เอง
ไม่มีใครสร้างพระองค์ ทรงเป็นผู้มีอยู่ตลอดกาล ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดจบ ทรงเอกานุภาพ
ไม่มีสิ่งใดเป็นภาคี ทรงสรรพเดช ทรงเป็นสัพพัญญู ทรงความยุติธรรม ทรงพระเมตตา ทรง
เป็นผู้พิพากษาในการตัดสินชีวิตมนุษย์ในวันสุดท้ายที่เรียกว่า วันพิพากษา
ศ า ส น า อิสลาม DOU 391