ศาสนาขงจื้อ DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 234
หน้าที่ 234 / 481

สรุปเนื้อหา

ศาสนาขงจื้อเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 8 ปีก่อนพุทธศักราช และมีการเผยแพร่คำสอนของขงจื้อโดยศิษยานุศิษย์หลังจากการสิ้นชีวิตของท่าน. ขงจื้อไม่ได้ประกาศตัวเป็นศาสดาแต่ถูกยกย่องโดยผู้อื่น. จักรพรรดิและประเทศจีนมีการสืบทอดคำสอนของขงจื้ออย่างต่อเนื่อง และมีการยกย่องตำแหน่งสำคัญให้กับท่านในประวัติศาสตร์ เช่น การจัดพิธีเซ่นสังเวยและการอัญเชิญรูปปั้นขงจื้อในราชวิทยาลัย. ขงจื้อได้รับตำแหน่งสูงสุดเป็นเทพเจ้าแห่งฟ้าดินในปี 2449.

หัวข้อประเด็น

-ประวัติความเป็นมาของศาสนาขงจื้อ
-การเผยแพร่คำสอน
-การยกย่องขงจื้อในประวัติศาสตร์
-ตำแหน่งทางศาสนาและราชวงศ์จีน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 8 ศาสนาขงจื้อ 8.1 ประวัติความเป็นมา ศาสนาขงจื้อ เกิดเมื่อประมาณ 8 ปีก่อนพุทธศักราช โดยคิดตามปีเกิดของขงจื้อ แต่ความ จริงสมัยที่ขงจื้อยังมีชีวิตอยู่ ท่านไม่เคยประกาศตัวเป็นศาสดา มีแต่ประกาศว่าท่านเป็น นักศึกษาที่ใฝ่หาความรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งไม่เคยประกาศตั้งศาสนา ส่วนที่ได้กลายมาเป็น ศาสดาก็เพราะผู้อื่นตั้งให้แบบเดียวกับเหลาจื้อ หลังจากที่ขงจื้อสิ้นชีพแล้วหลายร้อยปี กล่าว คือขงจื้อสิ้นชีพ พ.ศ. 64 ก็ได้มีศิษยานุศิษย์ช่วยกันเผยแผ่คำสอนของขงจื้อตลอดมา จนถึงสมัย เม่งจื้อ (พ.ศ. 172-256) ศิษย์คนสำคัญได้เป็นกำลังใหญ่ในการเผยแผ่คำสอนของขงจื้อออก ไปอย่างกว้างขวาง เป็นเหตุให้ราชวงศ์ฮั่น เกิดความเลื่อมใสได้ยกย่องขงจื้อเป็นเทพเจ้า ทั้ง ประกาศให้ถือคำสอนของขงจื้อ เป็นศาสนาประจำชาติ เป็นที่น่าสังเกตว่า ขงจื้อได้รับยกย่องจาก บ้านเมืองสูงขึ้นตามลำดับ ดังนี้คือ พ.ศ. 348 พ.ศ. 544 พ.ศ. 632 พ.ศ. 810 พ.ศ. 1035 พ.ศ. 1243 จักรพรรดิจีนได้เสด็จไปทำพิธีเซ่นสังเวยที่หลุมฝังศพขงจื้อ มีพระราชโองการให้สถาปนาขงจื้อเป็นขุนนางเทียมเท่าดยุกของอังกฤษ ขงจื้อได้รับสถาปนาเทียบเท่าระดับเอิร์ลของอังกฤษ มีพระราชโองการให้จัดราชพิธีเซ่นสังเวยขงจื้อปีละ 4 ครั้ง ขงจื้อได้รับสถาปนาเป็นนักปราชญ์สูงสุดของจีน ได้มีการอัญเชิญรูปปฏิมาขงจื้อมาประดิษฐานไว้ในราชวิทยาลัย เคียงข้างกับพระเจ้าจักรวรรดิทั้งหลาย พ.ศ. 1611-1619 ขงจื้อได้รับสถาปนาเทียบเท่าพระเจ้าจักรพรรดิ พ.ศ. 2449 ขงจื้อได้รับสถาปนาชั้นสูงสุดเทียบเท่าเทพเจ้าแห่งฟ้าดิน ซึ่งเป็นเทพ เจ้าสูงสุดตามความเชื่อของคนจีน Home Robert E. The World's Living Religions, 1957 p.117-118. ศ า ส น า ข ง จื้อ DOU 219
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More