ข้อความต้นฉบับในหน้า
พ.ศ. 1840-1841
เมื่อได้ครองราชย์ก็สั่งให้ฆ่าชาวเชนอย่างปราศจากเมตตา พวกหัวหน้า
เช่นจะถูกทรมานจนตาย และให้ทำลายวัดเชนด้วย
อาลา-อุด-ดิน แห่งศาสนาอิสลาม มีชัยเหนือแคว้นคุชรัต สั่งให้
ทำลายพวกเชนอย่างกว้างขวาง
พ.ศ. 2085-2148 จักรพรรดิอิสลามผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์โมกุล คือพระเจ้าอักบาร์
ได้ทรงทำให้พวกเชนพอใจ เพราะสั่งให้ยกเลิกภาษีรายบุคคลในแคว้น
คุชรัต ทรงยอมรับรู้สถานที่แสวงบุญอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกเชน และทรง
ทำตามคำสั่งสอนของศาสนาเชนในเรื่องความกรุณาต่อสัตว์ โดยทรง
ประกาศให้งดการฆ่าสัตว์ทั่วอินเดียเป็นเวลาครึ่งปี
คำว่าเชน มาจากศัพท์ว่า ชินะ แปลว่า ชนะ แต่ชนะในที่นี้มิได้หมายถึงการออกไป
เอาชนะข้าศึกศัตรู หรือชนะภายนอก หากแต่เอาชนะภายในคือกิเลสของตนเอง ศาสนาเชนถือว่า
กิเลสเป็นตัวร้ายกาจที่สุด ที่นำความวิบัติมาสู่ตนเองและผู้อื่น การมีสงคราม การเข่นฆ่า
ทำร้ายกัน ก็เพราะอำนาจกิเลสสั่งให้ทำ ตลอดถึงมีการเวียนว่ายตายเกิด ก็เพราะกิเลสเป็น
เหตุเช่นกัน เพราะฉะนั้นกิเลสจึงเป็นเรื่องที่จำต้องกำจัดให้หมดไป ใครชนะกิเลสได้มากเท่าไร
ก็ดีเท่านั้น ยิ่งชนะกิเลสได้เด็ดขาด ก็ยิ่งดีที่สุด เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ดังนั้นหน้าที่ของทุกคนใน
ศาสนาเชนจะต้องเอาชนะกิเลส ชาวเชนเชื่อว่าศาสดาของศาสนาเชนทุกองค์ล้วนแต่เอาชนะกิเลส
ได้เด็ดขาดสิ้นเชิงแล้ว จึงได้นามว่า พระชินะ พระผู้ชนะกิเลส เป็นติดถังกร ผู้สร้างท่าพาคน
ข้ามฟากถึงฝั่งโมกษะหรือนิพพานในศาสนาเชน พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดไม่ต้องมีทุกข์อีก
ต่อไป
ที่ว่าเชนเป็นศาสนาแห่งอหิงสา ก็เพราะศาสนาเชนถือการไม่เบียดเบียนกันเป็นเรื่อง
สำคัญมาก ทุกชีวิตย่อมรักชีวิตของตน รักสุขเกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น จึงไม่สมควรเข่นฆ่า
ทำร้ายเบียดเบียนกัน ไม่ว่าต่อคนหรือสัตว์ ส่วนที่ว่าเชนเป็นศาสนาแห่งตบะธรรม ก็เพราะเชน
ถือว่า กิเลสเป็นมารร้าย จึงจำต้องกำจัดให้หมดไป กิเลสมีอยู่ในร่างกาย มีร่างกายเป็นที่กักขัง
ดังนั้นการปล่อยให้ร่างกายอ้วนพี่หรือสุขสบายมากเท่าไร กิเลสก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้น จึง
จำต้องทรมานร่างกายทุกรูปแบบ ร่างกายยิ่งถูกทรมานมากเท่าไร กิเลสก็จะถูกย่างให้เร่าร้อน
ลดลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงต้องทรมานร่างกายในรูปแบบต่าง ๆ
98 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า