ข้อความต้นฉบับในหน้า
แผ่นป้ายของขงจื้อนั้นจะตั้งกลางห้องโดยหันหน้าไปทางทิศใต้ซึ่งเป็นทางเข้าวัด เพื่อทำ
ให้คนที่ศรัทธามาวัดนั้นรู้สึกเหมือนกับว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ และได้มีโอกาสกราบไหว้ในทันทีที่
ได้เหยียบย่างเข้าไปในวัด สำหรับกำแพงทางด้านฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก จะมีแผ่นป้าย
ของสานุศิษย์อื่นๆ อีก 11 คน และของท่านจูฮี (Chu Hsi) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากในลัทธิ
ขงจื้อใหม่ ดังนั้นสภาพของวัดโดยทั่วๆ ไปน่าจะเป็นอนุสรณ์สถานมากกว่าเป็นวัด ซึ่งเป็นที่อยู่
ของเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาในภายหลังเมื่อพุทธศาสนาและศาสนาเต๋าได้รับความนิยมจาก
ประชาชน วัดของศาสนาขงจื้อได้ถูกเปลี่ยนแปลงไป และรับเอาวัฒนธรรมของศาสนาเหล่านี้
มาประสมประสานด้วย
สถิตของดวงวิญญาณ
8.7 พิธีกรรมที่สำคัญ
ทำให้มีการติดตั้งภาพเขียนทางศาสนาแทนการตั้งแผ่นป้ายซึ่งเป็นที่
ขงจื้อได้เขียนข้อสนับสนุนประเพณีโบราณไว้เป็นอันมาก รวมทั้งประเพณีในการบูชาฟ้าดิน
และบูชาบรรพบุรุษด้วย ศาสนาขงจื้อจึงรับเอาประเพณีทั้ง 3 ซึ่งมีมาแต่ก่อนหลายพันปีเข้า
เป็นหลักการใหญ่เป็นอันว่าประเพณีต่าง ๆ ที่สืบทอดมาแต่โบราณ ขงจื้อก็รวบรวมเรียบเรียงไว้
และเมื่อขงจื้อซึ่งเป็นศาสดาได้สิ้นไปแล้ว ศาสนาขงจื้อก็อยู่ในฐานะศาสนาของรัฐ พิธีกรรมใน
การบูชาจึงแบ่งออกเป็น 3 อย่าง ดังนี้
1. พิธีบูชาขงจื้อ
2. พิธีบูชาฟ้า ดิน พระอาทิตย์ และพระจันทร์
3. พิธีเคารพบูชาเทียน และวิญญาณของบรรพบุรุษ
1. พิธีบูชาขงจื้อ เริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 195 ก่อน ค.ศ. (พ.ศ. 348) พระจักรพรรดิจีนได้
นำสัตว์ที่ฆ่าแล้วไปทำพิธีบูชาที่หลุมฝังศพขงจื้อ และมีคำสั่งเป็นทางราชการให้มีการเซ่นไหว้ขง
จื้อเป็นประจำ และให้สร้างศาลของขงจื้อขึ้นทั่วทุกหัวเมืองที่สำคัญ และทำพิธีเซ่นไหว้ ทั้งให้วัน
เกิดของขงจื้อ คือวันที่ 27 สิงหาคม เป็นวันหยุดราชการประจำปีของจีน และต่อมาได้เปลี่ยน
เป็นวันที่ 28 กันยายน
2. พิธีบูชาฟ้า ดิน พระอาทิตย์ และพระจันทร์ ในปีหนึ่ง จะมีรัฐพิธี 4 ครั้ง ดังนี้
2.1 พิธีบูชาฟ้า กระทำกันประมาณวันที่ 22 ธันวาคม พระจักรพรรดิจะทรงเป็น
ประธานในพิธี ในพิธีจะมีการแสดงดนตรี การแห่โคมไฟ มีเครื่องเซ่นไหว้ เช่น อาหาร ผ้า ไหม
ศ า ส น า ข ง จื้อ
DOU 233