ความหมายและสัญลักษณ์ของศาสนาขงจื้อ DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 250
หน้าที่ 250 / 481

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงแนวคิดของ หยิน-หยาง ในศาสนาขงจื้อ ซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์ของความมืดและความสว่าง ความดีและความชั่ว ประกอบด้วยสัญลักษณ์ที่สำคัญ เช่น รูปปั้นของขงจื้อ รูปวงกลมหยิน-หยาง และการบูชาบรรพบุรุษในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีการแบ่งความแตกต่างระหว่างศาสนาขงจื้อใหม่และเก่าอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่แสดงถึงความเคารพซึ่งกันและกันในวัฒนธรรมจีน อาทิเช่น การแสดงความเคารพโดยการประสานมือ

หัวข้อประเด็น

-แนวคิดหยิน-หยาง
-สัญลักษณ์ของศาสนาขงจื้อ
-การบูชาบรรพบุรุษ
-ศาสนาขงจื้อใหม่และเก่า
-วัฒนธรรมจีน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1822) ซึ่งรับเอาความคิดในเรื่อง หยิน - หยาง รวมทั้งการเซ่นไหว้ของประชาชนตาม ประเพณีโบราณเข้าไว้ในหลักการด้วย คำว่า หยิน - หยาง นั้นโปรดทราบว่าเป็นระบบของโลก ระหว่างความมืดกับความสว่าง ความชั่วกับความดี อันเป็นของคู่กัน คือ หยิน เป็นสิ่งแทนความมืดและความชั่ว ส่วนหยาง เป็นสิ่งแทนความสว่างและความดี เมื่อมีคำว่า ผู้นับถือศาสนาขงจื้อใหม่ ก็ทำให้คิดถึงพวกที่นับถือศาสนาขงจื้อเก่าซึ่งกา ปฏิบัติก็แตกต่างกันออกไป แต่ถ้าจะจัดพวกที่นับถือศาสนาขงจื้อใหม่เป็นนิกายใหม่อีกนิกาย หนึ่งก็ไม่ค่อยจะชัดเจนนัก 8.9 สัญลักษณ์ของศาสนา 1. สัญลักษณ์ศาสนาขงจื้อโดยตรง ได้แก่ รูปปั้น รูปหล่อ หรือรูปเขียนของขงจื้อเองซึ่ง ประดิษฐานอยู่ในศาล 2. สัญลักษณ์อย่างอื่นคือ ภาพวงกลม แบ่งเป็น 2 ส่วน เท่ากันด้วยเส้นเว้า ที่เรียกใน ภาษาจีนกลางว่า “หยิน - หยาง” 3. ถ้าไม่มีสัญลักษณ์ตามข้อ 1 - 2 เขาก็ใช้แผ่นป้ายจารึกนามขงจื้อ ในรูปการบูชาบรรพ บุรุษที่ชาวจีนนิยมทำกัน คือ การจารึกชื่อผู้ตายในแผ่นป้าย แล้วตั้งไว้เพื่อบูชาเซ่นไหว้ 4. สัญลักษณ์อีกอย่าง คือ รูปคนจีนแต่งตัวโบราณกำลังประสานมือแสดงคารวะต่อกัน ศ า ส น า ข ง จื้อ DOU 235
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More