ข้อความต้นฉบับในหน้า
5. ปรัชญาด้านการวางตน
เป็นขุนนางควรตั้งตนอยู่ในความซื่อสัตย์ ใครดีก็ควรยกย่อง ใครชั่วก็ควรข่มขู่กล่าว
สั่งสอน จงอย่าเห็นแก่ลาภซึ่งกลับเอาคนดีเป็นคนชั่วเอาคนชั่วเป็นคนดี ทำได้อย่างนี้ปวงชน
ย่อมนับถือ
เมื่อจะพูดถึงสิ่งใด จงพูดด้วยความซื่อสัตย์ให้คนทั้งปวงนับถือเชื่อฟังได้ ถ้าได้รับธุระของ
เขาแล้วต้องทำให้สำเร็จดังวาจา และกิริยาให้ซื่อตรงจึงจะเป็นที่นับถือของเขา ถ้าคบกันเป็น
เพื่อนแล้วก็อย่าหลอกลวงกัน จึงจะคบกันมั่นคงและยืดยาว
8.5 หลักความเชื่อและจุดหมายสูงสุด
ศาสนาขงจื้อ มีความเชื่อและจุดหมายสูงสุดไม่เด่นชัด คือเพียงแต่อนุโลมให้ทำตาม
ความเชื่อที่บรรพบุรุษเชื่อกันมา เช่น เชื่อเรื่องผีสางเทวดา และพยายามทำความดี เมื่อตาย
แล้วจะได้ไปบังเกิดในสวรรค์ เป็นต้น แต่ขงจื้อก็ไม่ได้แสดงไว้อย่างชัดเจน ขงจื้อเน้นแต่เรื่อง
มนุษย์และโลกเป็นสำคัญ กล่าวคือ จุดหมายสำคัญของขงจื้อก็คือ ต้องการให้คน สังคม ประเทศ
ชาติและโลกสงบสุข ขงจื้อต้องการให้คนในโลกนี้ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ไม่แบ่งพวก ไม่แบ่งประเทศ
แต่ต้องการให้มีประเทศเดียว คือประเทศมนุษย์ และมีชาติเดียวคือชาติมนุษย์ หากเป็นได้
ดังกล่าวทุกคนก็จะเป็นพี่น้องกัน มีความปรารถนาดีต่อกัน ช่วยเหลือกัน โลกก็จะสงบร่มเย็น
โดยแท้ เพราะฉะนั้นความสงบสุขในโลกนี้จึงเป็นยอดปรารถนา และจุดหมายสูงสุดของขงจื้อ
ศาสนาขงจื้อ มีอิทธิพลต่อชาวจีนเป็นอย่างมาก งานนิพนธ์ของขงจื้อเป็นวรรณกรรมชั้น
สูงและเป็นหลักสูตรในการศึกษาตามสถาบันต่าง ๆ อีกทั้งเป็นวิชาสำหรับสอบไล่ของทาง
ราชการอีกด้วย อิทธิพลคำสอนของขงจื้อ ทำให้ชาวจีนมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตน
หลายอย่าง เช่น
1. ชาวจีนให้ความสำคัญในเรื่องครอบครัวมาก ถือว่าครอบครัวเป็นรากฐานของสังคม
ชาวจีนจึงพยายามสร้างครอบครัวให้เป็นปึกแผ่น ให้เป็นครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยคนหลาย
รุ่น ทั้งปู่ย่าตายาย พ่อแม่ ลูกหลาน เหลน ชาวจีนให้ความสำคัญต่อญาติมาก คำในภาษาจีนก็
บอกลำดับญาติไว้อย่างชัดเจน ว่าใครมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มาจากสายไหน สืบสายมา
จากบิดาหรือมารดา ดุจคำว่าน้าและอาในภาษาไทยก็ฉันนั้น
ศ า ส น า ข ง จื้อ DOU 231