ข้อความต้นฉบับในหน้า
ความเชื่อในเรื่องโตเต็มมักจะผสมผสานไปกับการใช้เวทมนตร์คาถา พิธีบูชาบรรพบุรุษ
และความเชื่อในเรื่องวิญญาณ จึงทำให้เกิดความยากลำบากที่จะแยกความเชื่อแบบโตเต็มออก
มาจากความเชื่อแบบอื่นๆ
นักวิชาการทางศาสนวิทยาบางท่าน ได้จำแนกลัทธิโตเต็มเป็น 2 ประเภท คือ
1) ลัทธิโตเต็มส่วนบุคคล คือ การแสดงออกซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสัตว์
หรือพืชบางชนิด หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งอื่น ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้
ล้วนมีอำนาจพิเศษที่สามารถปกป้องคุ้มครองบุคคลแต่ละคนที่มีความผูกพันกับสิ่งนั้น ๆ เช่น
อินเดียนแดง บางคนอาจจะถูกกำหนดให้มีโตเต็มมาตั้งแต่เกิด อันเป็นสัญลักษณ์ประจำตัว
หรือลูกอาจได้รับโตเต็มโดยผ่านทางบิดา หรือมารดาก็ได้ มีข้อน่าสังเกตคือบุคคลใดที่มีโตเต็ม
เฉพาะบุคคลอย่างเดียวกันมักจะชอบอาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกันจึงทำให้เกิดลัทธิโตเต็มของ
กลุ่มชนลัทธิโตเต็มส่วนบุคคลนี้มักปรากฏอยู่ในพวกพื้นเมืองเดิมในทวีปออสเตรเลีย
2) ลัทธิโตเต็มของกลุ่มชน คือ การแสดงออกซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชนกับสัตว์
หรือพืชบางชนิด รวมทั้งสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องผูกพันกับกลุ่มชนนั้นๆ
ถ่ายทอดต่อ ๆ กันมาจนเป็นมรดกตกทอด บางกลุ่มจะสร้างตราหรือสัญลักษณ์ รวมทั้งกฎ
ข้อห้ามของโตเต็ม สัตว์หรือพืชที่ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์จะถูกห้ามนำมากิน และห้ามฆ่าสัตว์
ประเภทนั้นๆ โตเต็มของกลุ่มชนเป็นมรดกทางบิดาหรือมารดาก็ได้ กลุ่มที่นับถือโตเต็มใดก็จะ
เชื่อกันว่ากลุ่มชนนั้นสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษซึ่งมีความสัมพันธ์กับสัตว์หรือพืชที่เป็นโตเต็ม
ของกลุ่มชนนั้น
ลัทธิโตเต็มของกลุ่มชนนี้ยังคงมีอยู่ในทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้
และประเทศอินเดีย เป็นต้น
2.1.7 การมีความเชื่อในเรื่องการบวงสรวงและสังเวยต่างๆ (Sacrifice)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า “บวงสรวง” หมายถึง
การบูชาเทวดาด้วยเครื่องสังเวยและดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น และคำว่า “สังเวย” หมายถึง
การบวงสรวงและการเซ่นสรวง เพราะฉะนั้นการบวงสรวงและการสังเวยในที่นี้จึงหมายถึง การ
บูชาและการอ้อนวอนร้องขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาทิเช่นเทพเจ้าและเทวดา ดลบันดาลให้เกิด
1 ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, 2543 หน้า 610.
ศ า ส น า พื้นฐาน ดั้งเดิม DOU 29