ข้อความต้นฉบับในหน้า
เดิมทีเดียวคัมภีร์มีเพียง “ฤคเวท” เท่านั้น ต่อมาได้มีการแยกออกไปเป็น 3 เล่ม จึงมีชื่อ
เรียกว่า “ไตรเวท” และหลังจากนี้ไปเป็นเวลาหลายร้อยปี พวกพราหมณ์ได้แต่งคัมภีร์ขึ้นมาอีก
เล่มหนึ่งเรียกชื่อว่า “อถรรพเวท” หรืออาถรรพเวท รวมกับคัมภีร์เก่าเป็น 4 คัมภีร์ แต่คงเรียก
รวมกันว่า “ไตรเพท” เหมือนเดิม
นอกจากนี้ แต่ละคัมภีร์ดังกล่าวยังแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่อีก 4 หมวด ที่มีองค์ประกอบ
เหมือนกัน ดังต่อไปนี้ คือ
1. หมวดสังษิตา เป็นหมวดที่รวบรวมมนตร์ต่าง ๆ สำหรับเป็นบทบริกรรมและขับกล่อม
อ้อนวอน สดุดีเทพเจ้า เนื่องในพิธีกรรมบวงสรวง ทำพิธีกรรมบูชา
2. หมวดพราหมณะ หมวดนี้เป็นบทร้อยแก้ว หรือเรียงความ อธิบายระเบียบการ
ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียด
3. หมวดอารัณยกะ เป็นบทร้อยแก้ว ใช้เป็นตำราคู่มือการปฏิบัติของพราหมณ์ ผู้
ประสงค์ดำเนินตนเป็นวานปรัสถ์ ชฏิลหรือปริพาชก เพื่อหาความสุขสงบ ตัดความกังวลจาก
การอยู่ครองเรือน
4. หมวดอุปนิษัท เป็นคัมภีร์ที่มีแนวคิดทางปรัชญาอย่างลึกซึ้ง เป็นตอนสุดท้ายแห่ง
พระเวท คัมภีร์เน้นเรื่องอาตมันเทพเจ้าโลกและมนุษย์ถือว่าเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายของการศึกษา
เป็นบทสนทนาโต้ตอบ ได้อธิบายถึงธรรมชาติและจักรวาล วิญญาณของมนุษย์ การเวียนว่าย
ตายเกิด กฎแห่งกรรม และหลักปฏิบัติ ปรัชญาสังคม ซึ่งเป็นการอธิบายสาระสำคัญของคัมภีร์
พระเวททั้งหมด ดังนี้
1) ปรมาตมัน คือวิญญาณดั้งเดิมหรือความจริงสูงสุดของโลกและชีวิต หรือจักรวาล
ซึ่งเรียกว่า พรหมัน สรรพสิ่งมาจากพรหมัน และในที่สุดก็จะกลับคืนสู่ความเป็นเอกภาพกับพร
หมัน ปรมาตมันกับพรหมจึงเป็นสิ่งเดียวกัน
2) อาตมัน หรือ ชีวาตมัน เป็นส่วนอัตตาย่อย หรือวิญญาณย่อย ซึ่งปรากฏแยก
ออกมาอยู่ในแต่ละคน ดังนั้นการที่อาตมัน หรือชีวาตมันย่อยนี้เข้าไปรวมกับพรหมัน หรือ
ปรมาตมันได้จึงจะพ้นจากทุกข์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
3) เรื่องกรรม การที่ชีวาตมันจะกลับคืนสู่พรหมันเป็นเอกภาพอมตะได้นั้น ผู้นั้น
จะต้องบำเพ็ญเพียรทำกรรมดี และประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เรียกว่า โยคะ คือกรรมโยคะ
ทำกรรมดี ภักติโยคะ มีความภักดีในเทพเจ้า และชญานโยคะ การศึกษาจนเข้าใจพระเวท
อย่างถูกต้อง
ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู DOU 71