พระไตรปิฎกและหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 159
หน้าที่ 159 / 481

สรุปเนื้อหา

พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วยพระสุตตันตปิฎก, พระอภิธรรมปิฎก, และพระวินัยปิฎก โดยมีการจัดพิมพ์เป็นภาษาบาลีและต่าง ๆ และมีการแปลเป็นหลายภาษา ซึ่งรวมถึงภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน โดยเนื้อหาในพระไตรปิฎกมีความสำคัญต่อการศึกษาในพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นในนิกายเถรวาทหรือมหายาน โดยมีการอธิบายเพิ่มเติมในรูปแบบของอรรถกถา, ฎีกา, และอนุฎีกา โดยมีหลักคำสอนที่มีความสำคัญหลากหลายที่สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติได้เพื่อหลุดพ้นจากกิเลสและไปสู่พระนิพพานได้ในที่สุด

หัวข้อประเด็น

- พระไตรปิฎก
- หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
- การแปลพระไตรปิฎก
- อรรถกถาและฎีกา
- นิกายเถรวาทและมหายาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อนึ่ง 3 ปิฎกนี้สงเคราะห์เข้าใจปาพจน์ 2 คือ พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกจัด เป็นธรรม พระวินัยปิฎกจัดเป็นวินัย พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี และได้จัดพิมพ์ด้วยอักษรไทย พม่า ลังกา ลาว มอญ เขมรโรมัน ซึ่งอ่านแล้วออกเสียงเป็นอย่างเดียวกัน และได้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา รวมทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน ส่วนที่จัดพิมพ์อักษรไทยเป็น 45 เล่ม ก็เพื่อให้จำนวนสอดคล้องกับระยะ เวลาที่พระพุทธเจ้าประกาศพุทธศาสนา 45 ปี นั่นเอง ภายหลังที่พุทธศาสนาแบ่งออกเป็นนิกายเถรวาท และมหายานแล้ว พระไตรปิฎกฉบับ ภาษาบาลีก็เป็นคัมภีร์ของฝ่ายเถรวาท ส่วนฉบับภาษาสันสกฤตเป็นคัมภีร์ของฝ่ายมหายาน ต่อมาได้มีการแปลเป็นภาษาจีนและภาษาทิเบต และฉบับสันสกฤตสูญหายไปมากต่อมาก พุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานจึงได้ใช้พระไตรปิฎกฉบับภาษาจีนเป็นหลัก แม้ชาวญี่ปุ่นก็ใช้ ฉบับภาษาจีนเป็นหลัก เพราะในสมัยก่อนญี่ปุ่นใช้ตัวหนังสือจีน เพิ่งมาประดิษฐ์ตัวอักษรแบบ ใหม่ขึ้นในภายหลัง นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่อธิบายขยายความคำสอนในคัมภีร์พระไตรปิฎก เป็นลำดับชั้นดังนี้ ก. อรรถกถา เป็นตำราอธิบายพระไตรปิฎกซึ่งแต่งโดยอาจารย์ในกาลต่อมาที่เรียกว่า พระอรรถกถาจารย์ เป็นเนื้อความสอนชั้นที่ 2 รองจากพระไตรปิฎก ข. ฎีกาเป็นตำราอธิบายขยายความอรรถกถา ซึ่งแต่งโดยอาจารย์ที่เรียกว่าพระฎีกาจารย์ ถือเป็นตำราชั้นที่ 3 ค. อนุฎีกา เป็นตำราอธิบายขยายความฎีกา หรือเรื่องเกร็ดย่อยเบ็ดเตล็ด ซึ่งเขียนโดย อาจารย์ที่เรียกว่า พระอนุฎีกาจารย์ เป็นตำราขั้นที่ 4 5.4 หลักคำสอนที่สำคัญ หลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์นั้น โดย ภาพรวมแล้วหลักคำสอนทุกหมวดทุกข้อล้วนมีความสำคัญ เหมือนกันหมดทั้งสิ้นคือ ถ้าพุทธ ศาสนิกชนได้นำหลักคำสอนข้อใดข้อหนึ่งไปประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจังแล้ว จะทำให้สามารถ หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลายไปสู่พระนิพพานได้เหมือนกันหมด ส่วนหลักหลักคำสอนที่จะ ได้นำมาเสนอในบทเรียนนี้ เป็นหลักคำสอนพื้นฐานสำคัญที่ควรศึกษาก่อนในเบื้องต้นคือ 144 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More