พิธีกรรมและประเพณีที่สำคัญของชาวซิกข์ DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 203
หน้าที่ 203 / 481

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงพิธีกรรมและประเพณีที่สำคัญของชาวซิกข์ เริ่มจากพิธีปาหุล ซึ่งเป็นพิธีล้างบาปที่ทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับชื่อ 'สิงห์' รวมถึงการรับเอา 'ก' ทั้ง 5 ประการ เช่น เกศ, กังฆา, กฉา, กรา และ กิรปาน นอกจากนี้ยังมีพิธีรับน้ำอมฤตหรือน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นในสมัยของศาสดาคุรุโควินทสิงห์ โดยผู้ร่วมพิธีต้องเข้าร่วมกับ 'ปัญจปิยะ' ซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีคุณธรรมสูงและมีความรู้อย่างดีในศาสนา นอกจากนี้ยังมีวิธีการกรรมที่ต้องทำอย่างเคร่งครัดซึ่งทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการรักษา เอกลักษณ์ของชาวซิกข์ และการเข้าถึงจิตวิญญาณอย่างแท้จริง โดยมีการใช้พระขรรค์ขณะทำพิธีและสวดมนต์พร้อมกัน

หัวข้อประเด็น

-พิธีปาหุล
-พิธีรับน้ำอมฤต
-ความสำคัญของศาสนาซิกข์
-การรักษาประเพณี
-การเริ่มต้นเป็นชาวซิกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6.7 พิธีกรรมและประเพณีที่สำคัญ พิธีกรรมและประเพณีที่สำคัญ ที่ชาวซิกข์ทุกคนควรที่จะได้ประพฤติปฏิบัติมีดังนี้ 6.7.1 พิธีปาหุล พิธีกรรมที่ชาวซิกข์ทุกคนต้องทำ คือ พิธี “ปาหุล” ได้แก่ พิธีล้างบาป เมื่อเสร็จพิธี แล้วก็จะรับเอา “ก” ทั้ง 5 ประการ ดังนี้ 1. เกศ การไม่ตัดผม 2. กังฆา หวีขนาดเล็ก 3. กฉา กางเกงขาสั้น 4. กรา กำไลมือทำด้วยเหล็ก 5. กิรปาน ดาบ ผู้ใดทำพิธีล้างบาปแล้วก็ได้นามว่า “สิงห์” ต่อท้ายชื่อเหมือนกันหมดทุกคน เพราะถือว่า ได้ผ่าน “ขาลสา” แห่ง “วาริคุรุ” คือความเป็นสมบัติของพระเจ้าเองแล้ว 6.7.2 พิธีรับน้ำอมฤต (Baptism) ชาวซิกข์จะต้องเข้าพิธีรับน้ำอมฤตเพื่อแสดงความเป็นซิกข์ที่ดี และเป็นการรับคน เข้าในศาสนา พิธีนี้ได้เริ่มเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบในสมัยของศาสดาคุรุโควินทสิงห์ โดยจัดให้มี “ปัญจปิยะ” (Panj Pyare) 5 คน ซึ่งหมายถึงผู้เป็นที่รักของพระเจ้า ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นบุคคลที่ ได้รับการเลือกแล้วว่าเป็นผู้มีคุณธรรมสูง รู้เรื่องราวในศาสนาเป็นอย่างดี ท่านทั้ง 5 มีหน้าที่ ทำพิธีกรรมโดยนั่งเรียงเป็นแถวหันหน้าไปทางคุรุศาสดา แต่ปัจจุบันทั้งหมดต้องนั่งหันหน้าไป ทางพระคัมภีร์ครันถซาฮิป วิธีนั่งให้นั่งเหมือนกันทั้ง 5 ท่าน โดยนั่งทับขาขวาแต่ขาซ้ายยกชัน ขึ้นมาตั้งฉากกับพื้นเบื้องหน้าของทั้ง 5 ท่านมีแท่นหิน บนแท่นหินมีขันน้ำใบใหญ่ใส่น้ำแล้ว หยดน้ำตาลลงไป ภายในขันมี พระขรรค์ซึ่งเป็นมีด 2 คม ทั้งพระขรรค์และขันน้ำที่ทำพิธีนี้จะ ต้องทำด้วยเหล็กกล้าอย่างดี (เพราะแต่เดิมมาเหล็กเป็นโลหะที่หาง่าย ราคาถูก และใช้ได้กับ ชนทั่วไปในอินเดียสมัยนั้น) จากนั้นให้ใช้พระขรรค์คนน้ำในขัน ในขณะที่คนน้ำนั้นจะมีการ สวดมนต์ 5 บท ผลัดกันสวดคนละ 1 บท ตามลำดับดังนี้ 1 วนิดา ขาเขียว, ศาสนาเปรียบเทียบ, 2543 หน้า 208-210. 188 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More