ข้อความต้นฉบับในหน้า
3. การบำเพ็ญคุณประโยชน์ ยึดหลักมนุษยธรรมให้มีเมตตาจิตต่อกัน ให้มีความ
เข้าใจอันดีและความนับถือกัน ให้ปฏิบัติตนตามหลัก “ซึ่งกันและกัน”
4. การสร้างลักษณะนิสัยและทัศนคติที่ดีงาม เป็นสิ่งควรปลูกฝังให้มีอยู่ในตัวบุคคล
เพื่อเป็นรากฐานของการเป็นพลเมืองดี ด้วยหลักข้อนี้ ขงจื้อจึงได้ย้ำถึงความสัมพันธ์ใน
ครอบครัวว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง บุตรต้องเคารพบิดามารดา ภรรยาต้องเคารพสามี พี่และน้อง
ต้องมีความรักและนับถือและเมตตากรุณาต่อกันด้วย การที่ราษฎรจะเชื่อฟังคำสั่งของรัฐบาล
และการที่รัฐบาลจะปกครองราษฎรด้วยความร่มเย็นเป็นสุขนั้น ต้องเนื่องมาจากการปลูกฝัง
ความรู้สึกอันนี้ให้มีในครอบครัวก่อน
คือผู้น้อยต้องเคารพผู้ใหญ่ต้องคุ้มครองและให้ความ
ยุติธรรมแก่ผู้น้อย ผลจากคำสั่งสอนข้อนี้เองศิษย์ทั้งหลายของขงจื้อจึงได้แยกออกมาให้เป็น
หลักสำคัญเพิ่มขึ้นมาอีก 2 ข้อ คือ บุตรต้องอยู่ในโอวาทของบิดามารดาและความจงรักภักดี
ต่อพระจักรพรรดิ
5.
ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้บุคคลประพฤติดีจึง
จำเป็นที่จะต้องอาศัยการศึกษาเล่าเรียนให้รู้ถึงขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีโบราณ ซึ่ง
บรรพบุรุษได้สร้างไว้ โดยเห็นว่าเป็นสิ่งดีงามแล้วเป็นมรดกตกทอดสืบต่อกันมา การศึกษา
วรรณคดีและการศึกษาประวัติศาสตร์ล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการถ่ายทอดสืบมรดกจากบรรพ
บุรุษขงจื้อเน้นว่า ถ้ารัฐบาลใดต้องการปกครองให้ได้ดีแล้วต้องคำนึงถึงประวัติศาสตร์และ
เหตุการณ์ในอดีตเป็นเครื่องสอนและชี้แนวทางให้ อนึ่งขงจื้อได้กล่าวว่าดนตรีเป็นเครื่องทำให้
จิตใจอ่อนโยนในขณะที่ประเพณีรัดรึงเราได้ก็เฉพาะร่างกายภายนอกเท่านั้น แต่ความซาบซึ้ง
ในดนตรีนั้นจะเกิดขึ้นจากความรู้สึกภายใน ดนตรีชนิดต่างๆ ในท้องถิ่นหรือประเทศต่าง ๆ
ย่อมแสดงถึงจิตใจและเป็นสัญลักษณ์ของขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีที่ต่างกันด้วย
หลักคำสอนของขงจื้อกำหนดมาตรฐานของสังคมเพื่อให้สังคมดำเนินไปตามระเบียบ คำ
สอนขงจื้ออยู่ในระดับศีลธรรม สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตได้โดยตรงกับจิตใจของชาวจีน
ซึ่งไม่ชอบเพ้อฝันมากนัก แต่ชอบนำความคิดและความเชื่อมาปฏิบัติให้เกิดผลในชีวิตหลักคำ
สอนของขงจื้อมีส่วนช่วยสร้างสรรค์จิตใจของชาวจีนและมีอิทธิพลมากต่ออารยธรรมจีนความเชื่อ
ความคิด และระบบปรัชญาบางสาขา และมีส่วนช่วยสร้างสรรค์วรรณกรรมและวรรณคดีเป็น
อย่างมาก
จีนมีความเจริญทางศีลธรรมมานาน ขงจื้อได้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชีวิตและความคิด
ของประชาชนชาวจีนอย่างมากเพราะขงจื้อเป็นครูและเป็นผู้กล่อมเกลาจิตใจของประชาชนชาวจีน
228 DOU ศาสนศึกษา