ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 7
ศาสนาเต๋า
7.1 ประวัติความเป็นมา
ศาสนาเต๋า เป็นศาสนาที่แปลก คือดั้งเดิมไม่ได้เป็นศาสนา และผู้ที่ถือกันว่าเป็นศาสดาก็
ไม่มีส่วนรู้เห็นเลยกล่าวคือเหลาจื้อได้รับยอย่องให้เป็นศาสดา แต่สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ท่าน
ไม่เคยประกาศตัวเป็นศาสดา และไม่เคยประกาศตั้งศาสนาเต๋า ส่วนที่กลายมาเป็นศาสนาเต๋า
ก็เพราะความดีและความวิเศษแห่งคามรู้ในปรัชญาเต๋าของเหลาจื้อเป็นเหตุ ทำให้คนยกย่อง
ท่านเป็นศาสดา ภายหลังที่ท่านมรณภาพแล้วหลายร้อยปี เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อเหลาจื้อสิ้นชีพแล้ว
ได้มีสานุศิษย์ผู้เลื่อมใสในคำสอนของเหลาจื้อเป็นจำนวนมาก โดยมีจังจื้อหรือจวงจื้อเป็น
หัวหน้าใหญ่ได้ช่วยกันประกาศคำสอนของเหลาจื้อ อย่างแพร่หลายจนเป็นเหตุให้ทางบ้าน
เมืองได้เห็นความสำคัญของเหล่าจื้อมากขึ้นทุกทีจนได้ยกย่องให้สูงขึ้นตามลำดับอย่างเช่น
พ.ศ. 699 จักรพรรดิหวั่น (Hwan) ได้ทรงให้จัดทำพิธีเซ่นไหว้เหลาจื้อเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 1193-1227 เหลาจื้อได้รับสถาปนาเทียบเท่าพระเจ้าจักรพรรดิ ทั้งให้ถือข้อเขียน
ทั้งหลายของเหลาจื้อเป็นข้อสอบไล่ของทางราชการอีกด้วย
ส่วนที่เต๋ากลายมาเป็นศาสนาก็ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (ราว พ.ศ. 337-763) มีนักพรตรูป
หนึ่งชื่อ เตีย เต๋า เล้ง ประกาศตนสำเร็จทิพยภาวะสามารถติดต่อกับเทพเจ้า จึงได้สถาปนา
ศาสนาเต๋าขึ้น ณ สำนักภูเขาเหาะเม่งซัวในมณฑลเสฉวน โดยยกเหลาจื้อเป็นศาสดา และใช้
คัมภีร์เต๋า เต็ก เกง' ซึ่งเป็นผลงานของเหลาจื้อ เป็นคัมภีร์ของศาสนาเต๋า ส่วนเตีย เต๋า เล็งก็ได้
แต่งคัมภีร์สอนศาสนาเต๋าอีกหลายเล่ม แต่ละเล่มจะหนักไปในทางฤทธิ์เดชเวทมนตร์ต่าง ๆ
ตลอดถึงพิธีกรรมขลังๆ เพื่อความสัมฤทธิ์ผลของเวทมนตร์ เช่นมีการปรุงยาอายุวัฒนะ
กินแล้วเป็นอมตะ หรือเวทมนตร์สำหรับเหาะเหินเดินอากาศได้คล้ายเทวดา เป็นต้น
เพราะฉะนั้นศาสนาเต๋าจึงมีลักษณะ 2 อย่าง คือถ้าเป็นแบบปรัชญาเต๋าของเหลาจื้อก็
เป็นธรรมชาตินิยม ศาสนาเต๋าที่มีลักษณะอย่างนี้ก็เรียกว่า เต่าเจีย แต่ถ้าเป็นอย่างคำสอนของ
1 เสถียร โพธินันทะ, เมธีตะวันออก, 2514 หน้า 181-182.
ศาสนาเต๋า DOU 197