การเดินสายกลางและการบำเพ็ญเพียรทางจิต DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 149
หน้าที่ 149 / 481

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงความสำคัญของการเดินสายกลางในการบำเพ็ญเพียรทางจิตใจของพระสมณโคดม ในขณะที่พระองค์ทรงทรมานร่างกาย แต่ไม่สามารถเข้าถึงคุณวิเศษใดๆ ได้ พระองค์จึงได้ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติโดยหันมาให้ความสำคัญกับการบำเพ็ญเพียรทางใจ ซึ่งเป็นแนวทางที่สร้างความสงบและปัญญา พระองค์ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจ และเลือกเสวยอาหารตามปกติเพื่อให้มีพลังในการพัฒนาสมาธิและการตรัสรู้ สิ่งนี้ทำให้มีปัญจวัคคีย์ซึ่งเป็นพยานในการปฏิบัติต่อไป เนื้อหายังกล่าวถึงความสำคัญของการมีสงบและการหลีกหนีจากความพลุกพล่าน เพื่อการบำเพ็ญเพียรทางจิตที่มีประสิทธิภาพ.

หัวข้อประเด็น

- แนวคิดสายกลาง
- การบำเพ็ญเพียรทางจิต
- ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจ
- บทบาทของพระโคดม
- ปัญจวัคคีย์และการอุปัฏฐาก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ลำดับจะเสด็จไปทางไหนก็คอยซวนเซล้ม แม้พระองค์จะทรงทรมานพระกายถึงขนาดนี้ก็หา บรรลุคุณวิเศษใดๆ ไม่ พระองค์จึงทรงพิจารณาเห็นว่า การบำเพ็ญเพียรทางกายอย่างมากก็ทำกันได้เพียง แค่นี้เอง ไม่ดีไปกว่านี้แน่ ถึงกระนั้นก็หาใช่ทางหลุดพ้นไม่ พระองค์จึงทรงหวนระลึกถึงความ เพียรทางใจว่าคงจะเป็นทางตรัสรู้อย่างแน่นอน ทรงเกิดความคิดเทียบเคียงกับพิณ 3 สาย ถ้า ขึงตึงนักพอดีดก็จะขาดออกไป ถ้าขึงหย่อนไปก็ดีดไม่เป็นเสียง แต่ถ้าขึงปานกลางย่อมดีด ไพเราะเจริญใจ เมื่อเทียบกับการปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน ถ้าย่อหย่อนนัก คือ หมกมุ่นหนักไปใน กามารมณ์จนเกินไป ก็เป็นเสมือนพิณที่ขึงหย่อนย่อมไม่สามารถออกจากทุกข์ได้ ถ้าหาก ปฏิบัติตึงเกินไป เช่น การบำเพ็ญทุกรกิริยาที่เคยปฏิบัติมานั้นก็เป็นเสมือนพิณที่ขึงตึงนักพอ ดีดก็ขาด พระองค์ก็เช่นเดียวกัน บำเพ็ญลำบากเปล่าๆ แทบจะขาดใจก็หาได้ผลใดๆ ไม่ ฉะนั้น จึงควรเดินสายกลางไม่ให้ตึงนักและหย่อนนัก ซึ่งเรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” นี่กระมังที่จะเป็น ทางแห่งความพ้นทุกข์ พระสมณโคดมทรงตระหนักได้ว่า ร่างกายและจิตใจเป็นของคู่กันและเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กันและกัน การทรมานร่างกายก็ย่อมทำให้จิตใจไม่สงบ กระวนกระวาย เมื่อจิตใจไม่ สงบปัญญาจะเกิดขึ้นได้อย่างไร และถ้ากำลังกายไม่มีกำลังใจจะมีได้อย่างไร จิตใจที่เข้มแข็ง ย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์ จึงทรงหันกลับมาเสวยอาหารตามปกติเพื่อให้มีกำลังกาย เพื่อจะ ได้เจริญสมาธิภาวนาทำความเพียรต่อไป เมื่อปัญจวัคคีย์เห็นพระโคดมเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยากลับมาเสวยอาหารเช่นนั้น ก็คิดว่าพระองค์คงจะเลิกละความเพียรหันมาเพื่อความมักมากเสียแล้ว คงไม่อาจตรัสรู้ได้อย่าง แน่นอน ถ้าตนจะอยู่ปฏิบัติต่อไปก็คงไม่ได้อะไร จึงพากันหลีกหนีไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (ปัจจุบันนี้เรียกว่า สารนาถ) ใกล้นครพาราณสี การที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา แล้วมีปัญจวัคคีย์มาอุปัฏฐากเช่นนั้นย่อมเป็น โชคของพระองค์ เพราะเท่ากับพระองค์ได้พยาน เพราะถ้าหากพระองค์ตรัสรู้แล้ว ถ้าทรงสั่ง สอนใครให้ละเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยาจะได้ทรงยกพระองค์เป็นตัวอย่างได้ว่าทรงเคยทำมาแล้ว หาใช่ทางแห่งความสำเร็จไม่ เมื่อพระองค์ทรงดำริจะบำเพ็ญเพียรทางจิตนั้นก็นับว่าเป็นโชคดี ของพระองค์อีก ที่มีเหตุให้ปัญจวัคคีย์หลบหนีไป เพราะการบำเพ็ญเพียรทางจิตนั้นจำต้อง อาศัยความสงบเป็นอย่างมาก ถ้ามีคนอยู่พลุกพล่านย่อมก่อให้เกิดอันตรายต่อความสงัดของ พระองค์ ซึ่งนับว่าพระองค์ทรงเป็นผู้มีโชคเป็นอย่างยิ่ง 134 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More