บั้นปลายชีวิตของพระมหาวีระ DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 119
หน้าที่ 119 / 481

สรุปเนื้อหา

พระมหาวีระผู้ชนะใช้เวลา 30 ปีในการสอนสาวกและประกาศศาสนาเชน จนเมื่อถึงวัย 72 ปี ท่านต้องเผชิญกับความตายและให้คำสอนสุดท้ายแก่สาวก ถึงศีลห้าโดยเฉพาะข้อที่ห้ามทำร้ายสิ่งมีชีวิต พระองค์ได้ประชุมเพลิงที่เมืองปาวา ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่สำคัญในศาสนาเชน คัมภีร์อาคมะเป็นคัมภีร์ที่สำคัญในศาสนาเชนที่บรรจุคำบัญญัติและปฏิบัติ.

หัวข้อประเด็น

-บั้นปลายชีวิตของพระมหาวีระ
-ศีลห้าในศาสนาเชน
-คำสอนเกี่ยวกับอหิงสา
-คัมภีร์อาคมะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4.2.6 บั้นปลายชีวิต พระมหาวีระผู้ชนะใช้เวลาในการสั่งสอนสาวก ประกาศศาสนาเชนตามคามนิคม ชนบทน้อยใหญ่ เมืองต่าง ๆ และประสบผลสำเร็จตลอดมาเป็นเวลา 30 ปีเศษ เมื่อพระชนมายุ ได้ 72 ปี ก็ได้เสด็จมายังเมืองปาวาหรือปาวาบุรี (ปัจจุบันเป็นเมืองเล็กๆ ในเขตปัตนะ) ทรง ประชวรหนักไม่สามารถเสด็จต่อไปได้อีก ทรงทราบว่าวาระสุดท้ายแห่งชีวิต” จะมาถึง จึงเรียก ประชุมบรรดาสาวกทั้งหลาย และสั่งสอนเป็นโอกาสสุดท้าย สาวกคนหนึ่งถามว่า “ในบรรดาคำสอนทั้งหมดของอาจารย์ ข้อไหนที่สำคัญที่สุด” พระมหาวีระตอบว่า “ในบรรดาคำสอนของเราทั้งหมด ศีลห้า (ปฏิญญา 5) ข้อต้น สำคัญที่สุด คือ อย่าฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต อย่าทำอันตรายแก่สิ่งมีชีวิต จะเป็นด้วยวาจาก็ดี ความคิดก็ดี หรือ การกระทําก็ดี อย่าฆ่าสัตว์เป็นอาหาร อย่าทำการล่าสัตว์หรือจับปลา ไม่ว่าในเวลาใด อย่าฆ่าสัตว์ แม้ตัวเล็กที่สุด อย่าฆ่ายุงที่กัดเรา หรือผึ้งซึ่งต่อยเรา อย่าไปทำสงคราม อย่าสู้โต้ตอบผู้ทำร้าย อย่าเหยียบย่ำตัวหนอนริมทาง เพราะตัวหนอนก็มีวิญญาณ” ศีลข้อแรกของพระมหาวีระนี้ บรรดาสาวกรู้ว่าคือคำสอน “อหิงสา” ซึ่งหมายความ ว่า การไม่ทำร้ายต่อสิ่งซึ่งมีวิญญาณ พระมหาวีระดับขันธ์ในเช้าวันต่อมา สรีระของพระองค์ได้กระทำการประชุมเพลิงที่ เมืองปาวา และจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ เมืองปาวาในเขตปัตนะ รัฐพิหาร จึงเป็นสังเวชนียสถาน เป็น สถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับศาสนิกชนเช่นที่ควรไปดูไปทำสักการะ 4.3 คัมภีร์ในศาสนา คัมภีร์ที่สำคัญในศาสนาเชน คือ คัมภีร์อาคมะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิทธานตะ ซึ่ง เนื้อหาของคัมภีร์เป็นจารึกคำบัญญัติ หรือวินัยที่เป็นไปเกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติของ นักพรตหรือคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน และเรื่องราวประเภทชาดกในศาสนา ซึ่งตัวคัมภีร์อาคมะนั้น 1 เสฐียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ, 2516 หน้า 104. สุชีพ ปุญญานุภาพ. ประวัติศาสนา, 2513 หน้า 71-72. 104 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More