ข้อความต้นฉบับในหน้า
3. สังยุตตนิกาย (สำ) ชุมนุมพระสูตรที่รวมเข้าไว้เป็นหมวดๆ เรียกว่า สังยุตต์หนึ่ง ๆ
ตามเรื่องที่เนื่องกัน จัดเป็น 56 สังยุตต์ แล้วประมวลเข้าอีกเป็น 5 วรรค 5 เล่ม มี 7,792 สูตร
4. อังคุตตรนิกาย (อู๋) ชุมนุมพระสูตรที่รวมเข้าไว้เป็นหมวดๆ เรียกว่า นิบาตหนึ่ง ๆ
ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม จัดเป็น 11 นิบาต (หมวด 1 ถึงหมวด 11) รวมเข้า
เป็นคัมภีร์ 5 เล่ม มี 9,557 สูตร
5. ขุททกนิกาย (ขุ) ชุมนุมพระสูตร ข้อธรรม คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ด รวม
คัมภีร์ที่จัดเข้าไม่ได้ในนิกายสี่ข้างต้น มีทั้งหมด 15 คัมภีร์ จัดเป็น 9 เล่ม คือ ขุททกปาฐะ ธรรมบท
อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต (1 เล่ม) วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา (1 เล่ม) ชาดก
(2 เล่ม) นิทเทส (มหานิทเทส 1 เล่ม, จูฬนิทเทส 1 เล่ม) ปฏิสัมภิทามัคค์ (1 เล่ม) อปทาน
(2/3 เล่ม) พุทธวงศ์ จริยาปิฎก (1/3 เล่ม)
5.3.3 พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยอภิธรรม กล่าวถึงเนื้อธรรมะในแง่วิชาการล้วนๆ ไม่
เกี่ยวกับเหตุการณ์ บุคคล ภูมิประเทศ และกาลเวลา เป็นเนื้อหาธรรมะที่นำเอามาอธิบายก็มี
อยู่แล้วในส่วนพระสุตตันตปิฎกนั่นเอง มี 42,000 พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น 7 คัมภีร์ จัดพิมพ์
เป็น 12 เล่ม คือ
1. ธัมมสังคณี หรือ สังคณี (ส์) รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายเป็น
ประเภทๆ (1 เล่ม)
ນ
2. วิภังค์ (วิ) อธิบายข้อธรรมที่รวมเป็นหมวดหมู่ (เรียกวิภังค์หนึ่ง ๆ ) แยกแยะ
ออกชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด (1 เล่ม)
3. ธาตุกถา (ธา) สงเคราะห์ข้อธรรมต่างๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ (ครึ่งเล่ม)
4. บุคคลบัญญัติ (ป) บัญญัติความหมายบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มี
อยู่ในบุคคลนั้นๆ (ครึ่งเล่ม)
5. กถาวัตถุ (ก) แถลงวินิจฉัยทัศนะต่าง ๆ ที่ขัดแย้งระหว่างนิกายทั้งหลาย สมัย
สังคายนาครั้งที่ 3 (1 เล่ม)
6. ยมก (ย) ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบโดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ
(2 เล่ม)
7. ปัฏฐาน (ป) หรือ มหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย 24 โดยพิสดาร (6 เล่ม)
ศาสนาพุทธ
DOU 143