หลักการปฏิบัติสมควรในพระพุทธศาสนา DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 164
หน้าที่ 164 / 481

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงหลักการที่สำคัญในการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้องและสมควร เพื่อการพัฒนาตนในทางธรรม มีการเปรียบเทียบการปฏิบัติตนดี การให้ทาน การทำอัญชลี และการรับทักษิณาทาน ซึ่งมีผลต่อชุมชนและการสร้างความสุขให้อยู่ในสังคม นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงหลักสัมมาทิฏฐิที่สำคัญในการเข้าใจโลกและชีวิต ได้แก่ ความดีที่ควรทำและความชั่วที่ควรละเว้น เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายของการขจัดกิเลสอย่างเด็ดขาดในสังสารวัฏ

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
-การสร้างความดีในสังคม
-หลักสัมมาทิฏฐิ
-การเป็นกัลยาณมิตร
-อานิสงส์จากการให้ทาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4. เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือปฏิบัติตามสมควรแก่สมณเพศ สมควรแก่ฐานะ จน สามารถขจัดกิเลสได้โดยลำดับจนกระทั่งหมดสิ้นไป 5. เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชาคือปฏิบัติตนดีปฏิบัติตรงปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติสมควร ดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นที่เคารพสักการะของคนทั้งหลาย 6. เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ คือเป็นผู้ที่เมื่อประชาชนต้อนรับแล้ว ย่อมเกิดความ สุขสบายใจ คือประสบบุญ อันมีผลเป็นความสุขทั้งในปัจจุบันและกาลภายหน้าด้วย 7. เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทานคือเป็นผู้ปฏิบัติดีงามเหมาะสมเป็นผู้รับทักษิณาทาน เพราะช่วยให้ทานที่เขาบริจาคมีผล มีอานิสงส์มาก 8. เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คือเป็นผู้ปฏิบัติชอบ ควรแก่การประณมมือไหว้ ท่านด้วยความเคารพ เป็นการแสดงความเคารพต่อท่านผู้มีคุณความดี 9. เป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า เพราะคุณความดี ของท่านดังกล่าวมาแล้ว เป็นเหมือนกับนาที่ดี ชาวโลกที่ต้องการความดีอันเป็นสุข ย่อมคบหา สมาคมเพราะความเป็นกัลยาณมิตร เป็นบ่อเกิดแห่งความดีทั้งปวง เมื่อเข้าสมาคมย่อมได้รับ สิ่งที่เป็นกุศล และความสุข ดังนั้น พระสงฆ์จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วสอนให้ผู้อื่น ปฏิบัติตาม 5.4.2 หลักสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ หมายถึง คำสอนที่ทำให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ของโลกและชีวิต ว่าสิ่งใดเป็นความชั่วที่ต้องละเว้น สิ่งใดเป็นความดีที่ต้องทำ สิ่งใดเป็นการ ขจัดอาสวะกิเลสให้สิ้นไปอย่างเด็ดขาด และไม่ว่าจะถูกพิสูจน์โดยใคร จำนวนเท่าไร ผลลัพธ์ที่ ออกมาก็จะถูกต้องตรงกันตลอดกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงหลักสัมมาทิฏฐิที่มนุษย์ทุกคนต้องเข้าใจให้ถูก ต้องมี 10 ประการคือ 1 หน้า 342. 1. ทานที่ให้แล้วมีผล (หมายถึงการให้ในระดับแบ่งปันกัน) 2. ยัญที่บูชาแล้วมีผล (หมายถึงการให้ในระดับสงเคราะห์กัน) 3. การเซ่นสรวงมีผล (หมายถึงการบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผลดีจริง) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย เล่ม 13. มหาจัตตารีสกสูตร, 2539 ศ า ส น า พุทธ DOU 149
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More