ข้อความต้นฉบับในหน้า
ก. วิภังค์ หรือ สุตตวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ แบ่งเป็น 2 คัมภีร์ คือ
1. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก (อา) ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนัก ตั้งแต่
ปาราชิกถึง อนิยต (Major Offences) จัดพิมพ์เป็น 1 เล่ม
2. ปาจิตติยะ (ปา) ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ถึงเสขิยะ และรวมเอาภิกขุนีวิภังค์เข้าไว้ด้วย (Minor Offences) จัดเป็น 2 เล่ม วิภังค์นี้
แบ่งอีกอย่างหนึ่งเป็น 2 เหมือนกัน คือ
เป็น 2 เล่ม
1. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ จัด
2. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ จัดเป็น 1 เล่ม
ข. ขันธกะ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ รวมเป็นบทๆ เรียกว่า ขันธกะหนึ่ง ๆ ทั้งหมดมี
22 ขันธกะ แบ่งเป็น 2 วรรค คือ
1. มหาวรรค (ม; วรรคใหญ่) ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น มี 10
ขันธกะ จัดเป็น 2 เล่ม
2. จุลวรรค (จุ; วรรคเล็ก) ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย มี 12
ขันธกะ จัดเป็น 2 เล่ม
ค. ปริวาร (ป; หนังสือประกอบ, คู่มือ) คัมภีร์บรรจุคำถามคำตอบ ซ้อมความรู้พระวินัย
จัดเป็น 1 เล่ม
5.3.2 พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระสูตรคือ คำเทศนาสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและ
พระสาวก มีเรื่องราวประกอบมาก รวมทั้งรายละเอียดแห่งการที่จะทรงโต้ตอบกับนักบวชแห่ง
ศาสนาอื่น และผู้ที่มาซักถาม มีการกล่าวถึงภูมิประเทศ เหตุการณ์ บุคคล และกาลเวลา พลอย
ให้ได้ประโยชน์ในการศึกษาชีวิตของชาวอินเดียในครั้งนั้น มีลักษณะเป็นรูปคาถา (ร้อยกรอง)
ล้วนบ้าง ร้อยแก้วล้วนบ้าง ผสมร้อยแก้วกับร้อยกรองบ้าง มีทั้งหมด 21,000 พระธรรมขันธ์
แบ่งเป็น 5 นิกาย (ประมวลหรือชุมนุม) จัดพิมพ์เป็น 25 เล่ม คือ
1. ทีฆนิกาย (ที) ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว จัดเป็น 3 วรรค 3 เล่ม มี 34 สูตร
2. มัชฌิมนิกาย (ม) ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง จัดเป็น 3 ปัณณาสก์
3 เล่ม มี 152 สูตร
142 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า