ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในสมัยนั้นมีดาบสองค์หนึ่งชื่อ อสิตะ หรือ กาฬเทวิล ผู้ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยและเป็นที่
นับถือของราชตระกูลมาก เมื่อได้ทราบข่าวการประสูติของพระราชกุมาร จึงเข้าไปในพระราชวัง
เพื่อขอชมพระกุมาร เมื่อท่านได้เห็นพระกุมารีมีลักษณะเลิศ ก็ทราบว่าต่อไปในภายหน้า
พระกุมารนี้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงได้ลุกขึ้นจากอาสน์คุกเข่าลงถวายอัญชลีแล้วกราบ
ลงที่พระบาทพระกุมาร แล้วก็ทรงหัวเราะก้องไปทั้งปราสาท เพราะเห็นว่าเป็นลาภของตนที่ได้
เห็นพระกุมาร ซึ่งมีลักษณะอันประเสริฐเช่นนั้น แต่เมื่อพิจารณาเห็นว่าตนจะต้องตายเสียก่อน
จึงพลาดโอกาสที่จะได้มรรค ผล และนิพพาน มีความเสียดายนัก จึงได้ร้องไห้ด้วยเสียงอันดัง
บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ได้เห็นดังนั้นจึงพากันพิศวงยิ่งนัก ต่างก็พากันไถ่ถามพระดาบส
เมื่อได้ทราบว่าพระกุมาร จะเป็นผู้มีเดชานุภาพยิ่งใหญ่ต่อไปในภายหน้า ต่างก็พากันกราบ
พระกุมาร แม้พระเจ้าสุทโธทนะเองก็ยอกรกราบอภิวันทนาการพระกุมารเช่นกัน แล้วดาบสก็
ทูลลากลับ
เมื่อพระกุมารประสูติได้ 5 วัน พระเจ้าสุทโธทนะทรงทำพิธีทำนายลักษณะและ
ขนานพระนามโดยเชิญพราหมณ์ 108 คนมาเลี้ยง แล้วได้คัดเลือกเอาพราหมณ์ชั้นยอด 8 คน
ให้เป็นผู้ทำนายลักษณะพระกุมาร พราหมณ์ 7 คนได้ทำนายเป็น 2 นัย คือ
ของโลก
1. ถ้าพระกุมารครองความเป็นฆราวาสต่อไป จะได้เป็นบรมจักรพรรดิ
2. ถ้าพระกุมารออกบรรพชาจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นศาสดาจารย์เอก
แต่โกณฑัญญะพราหมณ์หนุ่มได้ทำนายไว้ประการเดียวว่า “พระกุมารจะต้องออก
บรรพชา และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน” แล้วพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้ขนาน
พระนามพระกุมารว่า “สิทธัตถะ” ซึ่งหมายความว่า “ต้องการอะไรเป็นสำเร็จทุกอย่าง”
ฝ่ายพระนางสิริมหามายาพระราชมารดา เมื่อประสูติพระกุมารได้ 7 วันแล้วก็ทิวงคต
โดยเหตุนี้พระเจ้าสุทโธทนะจึงได้ทรงมอบภาระการเลี้ยงดูพระกุมารให้แก่พระนางปชาบดีพระ
น้านาง ซึ่งเป็นพระชายาพระเจ้าสุทโธทนะเหมือนกัน แม้ในกาลต่อมาพระนางมีโอรสองค์หนึ่ง
คือ เจ้าชายนันทะ และราชธิดาองค์หนึ่งคือ เจ้าหญิงรูปนันทา ก็ตาม ถึงกระนั้นพระนางก็มิได้
ทรงนำพาที่จะทะนุบำรุงให้ยิ่งไปกว่าเจ้าชายสิทธัตถะ
วันหนึ่งเป็นวันพระราชพิธีแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะพร้อมด้วยอำมาตย์ ราช
บริพาร พราหมณ์ คหบดี ได้เสด็จไปทำพิธีแรกนาขวัญ ณ ทุ่งนาหลวง และได้เชิญพระกุมาร
ออกไปด้วยโดยจัดที่ประทับไว้ให้ได้ต้นหว้าใหญ่ มีพระพี่เลี้ยงนางนมบริบาลแวดล้อม ขณะที่
130 DOU ศาสนศึกษา