ข้อความต้นฉบับในหน้า
2) บัตรพระเกตุ เครื่องเซ่นสรวงทำคล้ายบัตรเทวดาแต่มีพื้น 9 ชั้น (ตามกำลังของ
พระเกตุ) สำหรับใส่เครื่องเซ่นสรวงทำคล้ายบัตรเทวดานวเคราะห์ บัตรเหล่านี้พบมากในพิธี
โกนจุกและพิธีฉลองอายุ โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีกรรม
3) บัตรสามเหลี่ยมหรือบัตรคางหมู ทำด้วยหยวกกล้วย เป็นรูปถาดสามเหลี่ยมสำหรับ
ใส่เครื่องเซ่นถวายพระยายักษ์
4) บัตรสี่เหลี่ยม ทำด้วยหยวกกล้วยประดิษฐ์เป็นรูปถาดสี่เหลี่ยมสำหรับใส่เครื่องเซ่น
ไหว้พระภูมิเจ้าที่
บัตรทั้ง 4 อย่างนี้ ให้เลือกทำอย่างใดก็ได้ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยและจุดมุ่งหมายที่กระทำ
สำหรับผีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เทวดา หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีฤทธิ์อำนาจสูง อาจทำเพียงแค่การเซ่นไหว้
ตามธรรมดา สำหรับภาชนะใส่อาหารใช้ใบตองที่เจียนให้กลมหรืออาจฉีกใบตองจากต้นมา
โดยไม่ต้องเจียนเลยก็ได้ แล้วใช้ของกินกองบนนั้น
2.1.8 การมีความเชื่อในพิธีกรรม (Rites of Passage)
การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาที่จัดวางอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนเราเรียกว่า พิธีกรรม
ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีลักษณะสากลและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายเช่นพิธีการ
ตั้งชื่อ พิธีการล้างบาป พิธีรับศีล พิธีโกนจุก พิธีแต่งงาน พิธีทำศพ และพิธีบวช เป็นต้น
นอกจากนี้อาจจะรวมไปถึงศิลปะแห่งการทำให้ชีวิตอยู่รอดปลอดภัย เช่น การตั้ง
พิธีกรรมเพื่อการล่าสัตว์ ตัวอย่างที่พบได้มากในประเทศไทยคือการตั้งพิธีกรรมบวงสรวง
เทวดาเพื่อล่าปลาบึกในแม่น้ำโขง การทำพิธีกรรมอีกอย่างหนึ่งที่พบเป็นประจำทุกปี คือ การ
ทำพิธีแรกนาขวัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรม และพิธีกรรมอีกชนิดหนึ่งที่เราพบมากใน
แถบภาคอีสานยามหน้าแล้ง คือ พิธีเซิ้งบ้องไฟเพื่อขอฝน
พิธีกรรมเป็นการแสดงออกของจิตสำนึกที่มีความเชื่อและศรัทธาในพลังอำนาจอันลึกลับ
ที่อยู่เหนือธรรมชาติ ในบางครั้งพิธีกรรมอาจมีจุดมุ่งหมายถึงการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์เพื่อ
เรียกความโชคดีเข้ามาสู่ตน เช่น การรดน้ำมนต์ การลุยไฟ และการปัดรังควาน เป็นต้น
2.1.9 การมีความเชื่อในเรื่องการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ (Ancestor Worship)
คุณลักษณะของศาสนาดั้งเดิมในข้อนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากความเชื่อในเรื่องผีและ
วิญญาณของบรรพบุรุษ เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย จนถึงระดับหัวหน้าเผ่าพันธุ์และกษัตริย์ เมื่อ
ท่านเหล่านี้ได้ล่วงลับไปแล้วจึงเป็นหน้าที่ของลูกหลานต้องให้ความเคารพด้วยการเซ่นไหว้อยู่
ศ า ส น า พื้นฐาน ดั้งเดิม
DOU 31