ความเป็นมาของพระนครกบิลพัสดุ์และโกลิยวงศ์ DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 142
หน้าที่ 142 / 481

สรุปเนื้อหา

เรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างพระนครกบิลพัสดุ์โดยพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระเจ้าโอกกากราช และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเจ้าหญิงปิยาที่เป็นโรคเรื้อนโดยที่ครอบครัวได้หาทางให้พระนางมีที่อยู่ที่ปลอดภัย โดยรวมเรื่องเล่าถึงการสร้างสกุลศากยวงศ์และปัญหาการระบาดของโรคเรื้อนในเวลานั้น.

หัวข้อประเด็น

-การสร้างพระนครกบิลพัสดุ์
-ชีวิตของพระราชโอรสและพระธิดา
-เหตุการณ์โรคเรื้อนในราชวงศ์
-การค้นพบยาและการรักษาโรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เป็นการเสียสัตย์ เมื่อเป็นดังนี้ พระองค์จึงตรัสสั่งให้พระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง 9 พระองค์ ซึ่งประสูติจากพระนางหัตถาไปสร้างพระนครอยู่ใหม่ พระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง 9 พระองค์ได้เสด็จออกจากพระนครด้วยจตุรงค์นี เสนาเป็นจำนวนมากเพื่อไปแสวงหาที่สร้างพระนครอยู่ใหม่ ได้เสด็จไปถึงสถานที่ที่เป็นป่าไม้ สักกะใกล้ภูเขาหิมาลัย ได้ทรงพบดาบสมีนามว่า “กปีละ” ซึ่งสร้างอาศรมบำเพ็ญพรตอยู่ บริเวณป่าไม้สักกะนั้น กบิลดาบสได้ทูลถามสาเหตุที่ต้องเสด็จออกจากพระนคร ครั้นกบิลดาบส ทราบความนั้นก็มีจิตเมตตา จึงถวายคำแนะนำให้สร้างพระนครอยู่ที่นั้นเพราะเป็นชัยภูมิอัน เป็นมงคล เมื่อพระราชโอรสและพระราชธิดาทรงสร้างพระนครแล้ว จึงขนานนามพระนครว่า “กบิลพัสดุ์” เพื่อให้สมกับสถานที่อันเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส เมื่อสร้างเมืองแล้ว พระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง 8 พระองค์ได้ทรงให้เจ้าหญิง ปิยาผู้เป็นเชษฐภคินีดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพเหมือนพระมารดา และทั้ง 8 พระองค์ ได้ ทรงสมรสกันเป็นคู่ๆ ครบ 4 คู่ เพื่อไม่ให้สกุลวงศ์โอกกากราชขาดสูญ ครั้นเมื่อพระเจ้าโอกกากราช ทรงทราบเรื่องนี้จึงทรงพอพระทัยยิ่ง โดยทรงเปล่งอุทานว่า “สกุยา วต โภ กุมารา ปรมสกุยา วต โภ กุมารา” แปลว่า “พระกุมารสามารถหนอ พระกุมารสามารถยิ่งหนอ” ด้วยเหตุนี้ วงศ์นี้จึงได้ชื่อว่า “ศากยวงศ์” เพราะได้ทรงสร้างพระนครขึ้นในดงไม้สักกะ ความเป็นมาของโกลิยวงศ์ เมื่อพระราชโอรสในพระเจ้าโอกกากราชทรงสร้างนครกบิลพัสดุ์แล้วเวลาต่อมา เจ้า หญิงปิยาซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีเกิดเป็นโรคเรื้อนขึ้น พระนางมีความละอายพระทัยมาก ฝ่าย พระกนิษฐภาดาและพระกนิษฐภคินีทรงเกรงว่าโรคเรื้อนนั้นจะติดต่อไปยังบุคคลอื่น จึงทรง ปรึกษาตกลงกันเชิญพระพี่นางเสด็จไปสู่อรัญประเทศ รับสั่งให้ขุดที่แห่งหนึ่งลง มีสัณฐาน คล้ายสระ ให้ตกแต่งเรียบร้อยเป็นที่พ้นภัย แล้วเชิญพระนางให้ประทับในหลุมนั้น พร้อมด้วย เครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนมาก นาน ๆ จึงให้ราชบุรุษนำอาหารไปส่งสักครั้งหนึ่ง ในเวลานั้น กษัตริย์ผู้ครองกรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “ราม” เกิด เป็นโรคเรื้อนขึ้น ก็ทรงสังเวชในพระทัยและทรงกลัวประชาชนรังเกียจว่าในหลวงของตนเป็น โรคเรื้อน จึงทรงมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ แล้วพระองค์ได้เสด็จออกไปสู่ป่า ประทับอยู่ในโพรงใหญ่ของต้นไม้โกละหรือกระเบา พระองค์ได้เสวยผลไม้เหมือนดาบสทั้ง หลายที่อยู่ในป่า บังเอิญผลไม้ที่ได้เสวยนั้นเป็นยารักษาโรคเรื้อนได้ โรคเรื้อนนั้นจึงได้หายไป ผลไม้ที่ได้เสวยอาจเป็นผลกระเบาและอาจรักษาโรคเรื้อนได้ ศาสนาพุทธ DOU 127
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More