ศาสนาซิกข์: ความเข้าใจและหลักคำสอน DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 186
หน้าที่ 186 / 481

สรุปเนื้อหา

ศาสนาซิกข์ถือกำเนิดในประเทศอินเดียปี พ.ศ. 2012 โดยรวมจุดเด่นจากศาสนาฮินดูและอิสลาม มีศาสดา 10 ท่าน และใช้คัมภีร์เป็นศาสดาหลังจากนั้น หลักคำสอนสำคัญได้แก่ องค์ไตรรัตน์, ศีล 5 และศีล 21 เพื่อบรรลุสุขนิรันดร ชาวซิกข์เชื่อว่าวิธีบรรลุคือต้องบูชาพระเจ้าและฟังพระนามของพระองค์ รวมทั้งการระบุถึงนิกายสำคัญที่มีอยู่ 2 นิกาย และจำนวนประชากรซิกข์โดยรวมบนโลก

หัวข้อประเด็น

- ประวัติศาสนาซิกข์
- หลักคำสอนของศาสนาซิกข์
- นิกายนานักปั่นและนิกายขาลสา
- จุดหมายปลายทางในชีวิตของชาวซิกข์
- พิธีกรรมและวันสำคัญในศาสนาซิกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. ศาสนาซิกข์ เกิดที่ประเทศอินเดีย ปี พ.ศ. 2012 เป็นศาสนาที่รวมเอาจุดเด่นของ ศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลามมาไว้เป็นอันเดียวกัน ศาสดาของศาสนาซิกข์ เรียกว่า คุรุ มี 10 ท่าน ต่อจากศาสดาองค์ที่ 10 ให้ถือเอาคัมภีร์เป็นศาสดาแทน ศาสดาคนแรกของศาสนาซิกข์ คือ ท่านนานัก 2. หลักคำสอนในศาสนาซิกข์ที่สำคัญ คือ 1) องค์ไตรรัตน์ 3 ประการ 2) ศีล 5 ประการ 3) หลักธรรมประจำชีวิตหรือศีล 21 ประการ และหลักปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะเข้าถึงสุขนิรันดร หรือนิรวาณ 3. ศาสนาซิกข์มีจุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิต เป็นความสุขที่แท้จริงและนิรันดร คือ ความกลมกลืนเข้ากับชีวิตของพระเจ้าหรือการได้รับพระมหากรุณาจากพระเจ้า วิธีที่จะบรรลุ จุดหมายปลายทางนั้นได้ก็ต้องบูชาพระเจ้าสวดเพลงสรรเสริญพระนามและการฟังพระนาม ของพระเจ้า ชาวซิกข์เชื่อว่าชีวิตในโลกนี้ยังต้องเกิดอีกหลายครั้งตราบที่ยังไม่สิ้นกิเลส 4. ศาสนาซิกข์มีนิกายที่สำคัญอยู่ 2 นิกาย คือ 1) นิกายนานักปั่นหรือสหัชธรี และ นิกายขาลสาหรือสิงห์ ปัจจุบันมีชาวซิกข์อยู่ประมาณ 18 ล้าน 5 แสนคน ตามประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ สิงคโปร์ และฮ่องกง แต่ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศอินเดีย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาได้มองเห็นภาพรวมประเด็นที่เป็นสาระสำคัญทางศาสนาของศาสนา ซิกข์ได้อย่างสมบูรณ์ 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถถ่ายทอดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของศาสนา ประวัติศาสดา คัมภีร์สำคัญในศาสนา หลักคำสอนที่สำคัญในศาสนา หลักความเชื่อและจุดหมายสูงสุดใน ศาสนาของศาสนาซิกข์ได้อย่างถูกต้อง 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถถ่ายทอดเกี่ยวกับพิธีกรรมและวันสำคัญทางศาสนา นิกายใน ศาสนา สัญลักษณ์ของศาสนา และฐานะปัจจุบันในศาสนาของศาสนาซิกข์ได้อย่างถูกต้อง ศ า ส น า ชิ ก ข์ DOU 171
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More