ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประช
สุกร โพธิสัตว์
១៨៥
โดยดุษณี พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า “ไม่ใช่แต่ภพชาตินี้เท่านั้น
ที่เธอเป็นคนที่หวั่นไหวง่าย แม้ในอดีตชาติก็เป็นเหมือนกัน”
จากนั้นพระองค์ทรงตรัสเล่าว่า
ชาติหนึ่ง พระโพธิสัตว์เกิดในท้องของแม่สุกร เมื่อแม่
สุกรท้องแก่ ได้คลอดลูกออกมา ๒ ตัว วันหนึ่งแม่สุกรได้พาลูก
ทั้งสองไปนอนที่หลุมแห่งหนึ่ง วันนั้นหญิงชราคนหนึ่งเดินผ่านมา
เมื่อแม่สุกรได้ยินเสียงที่ผิดสังเกตเช่นนั้นก็กลัวตายวิ่งหนีไปทันที
โดยไม่คำนึงถึงลูกทั้งสองของตน หญิงชราเห็นลูกสุกรทั้งสอง
เกิดความรักความเอ็นดู เสมือนลูกของตน จึงนำไปเลี้ยงที่บ้าน
แล้วตั้งชื่อตัวพี่ว่า มหาตุณฑละ ตัวน้องว่า จุลกุณฑละ หญิงชรา
ได้เลี้ยงดูอย่างดี รักเหมือนลูก มดไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม
จนกระทั่งเติบโตขึ้น ลูกสุกรทั้งสองมีร่างกายที่อ้วนท้วนสมบูรณ์
ทําให้เป็นที่หมายปองของพวกพ่อค้า และเหล่านักดื่มสุราทั้งหลาย
วันหนึ่ง หลังจากที่นักดื่มได้พยายามขอซื้อสุกรทั้งสอง
หลายครั้งหลายครา ด้วยความรักและผูกพันกับลูกสุกร หญิงชรา
ไม่ยอมขายให้ เมื่อพวกนักเลงเห็นว่าขอซื้อดีๆ ไม่ได้ผล จึงพากัน
มอมเหล้าหญิงชราผู้นั้น ครั้นเหล้าล่วงลำคอสติที่เคยสมบูรณ์
ก็หายไป ทําให้พวกนักดื่มได้ช่อง เมื่อเห็นหญิงชรานั้นเมาได้ที่
ก็เอ่ยปากขอซื้อว่า “ยาย ยายทนเลี้ยงหมูมาอย่างนี้ไม่ไว้กินแล้ว