ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประช
ขอจงเป็นอยู่เถิด
๒๒๗
เมื่อพระบรมศาสดาตรัสพระธรรมเทศนาจบลง ทรง
ประชุมชาดกว่า “พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นพระอานนท์ในครั้งนี้
บิดาได้เป็นพระมหากัสสปะ ส่วนบุตรนั้นได้เป็นเราตถาคต”
จากเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าการจะทำอะไรก็ตาม ย่อมมีที่มาที่ไป
อยู่ที่ว่าเรื่องที่เรายึดถือกันมา
เป็นเรื่องดีหรือเรื่องร้าย
เป็นเรื่องเสียหายหรือไม่ ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่เสียหาย พระองค์ทรง
อนุญาตให้อนุโลมตามวัฒนธรรม ตามธรรมเนียมประเพณีของ
ท้องถิ่นนั้นๆ บางเรื่องไม่เสียหายสำหรับฆราวาส แต่อาจเป็น
เรื่องที่ไม่เหมาะสมสําหรับนักบวชก็เป็นได้
เพราะฉะนั้น เมื่อเราไปทำหน้าที่ผู้นำบุญยอดกัลยาณมิตร
ไปเจอธรรมเนียม ในที่ต่างๆ ต้องสังเกตพิจารณาให้ดี ถ้าเป็น
เรื่องที่ไม่เสียหาย ไม่ผิดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี ไม่ผิด
กฎหมาย หรือไม่ผิดต่อศีลธรรมอันดีงาม ให้เราปฏิบัติตามเขา
ต้องทำตัวให้เป็นสัตบุรุษ คือเป็นผู้รู้จักชุมชน ไม่ว่าจะไปที่ไหน
เราจะปฏิบัติได้ถูกต้องเหมาะสมไม่เก้อเขิน จะเป็นที่รักและ
เมตตาในสถานที่นั้นๆ แต่ธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีที่สําคัญสําหรับ
ชีวิตเรา ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด เราจะต้องประพฤติปฏิบัติให้
สม่ำเสมออย่าได้ขาด สิ่งนั้น คือการทำทาน รักษาศีล และการ
เจริญภาวนา ให้เรารักษาธรรมเนียมนี้ไว้ให้ดี เพื่อให้เป็นมรดก
ตกทอดแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป