ธรรมะเพื่อประช: ชีวิตของนักสร้างบารมี ธรรมะเพื่อประชาชน ฉบับสารธรรม 3 หน้า 328
หน้าที่ 328 / 591

สรุปเนื้อหา

การปฏิบัติกาย วาจา และใจให้บริสุทธิ์จะส่งผลต่อการตื่นรู้ทางจิตใจ เมื่อสติปัฏฐานสี่เต็มเปี่ยมจะนำมาซึ่งโพชฌงค์ ๗ ซึ่งนำไปสู่วิชชาและวิมุตติ เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าที่แบ่งเวลาแสดงธรรมให้ผู้คนและเทวดาในต่างเวลาเพื่อให้ทุกคนได้รับคำสอนที่เหมาะสม แสดงถึงการใช้สติในชีวิตประจำวันที่จะนำไปสู่อานิสงส์อันยิ่งใหญ่

หัวข้อประเด็น

-การประพฤติธรรม
-สติปัฏฐาน
-โพชฌงค์
-วิชชาและวิมุตติ
-การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ธรรมะเพื่อประช ชีวิต ของนักสร้างบารมี ๓๒๗ อยากจะประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เมื่อสุจริตทั้ง ๓ เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อย่าง คือ การตามพิจารณา เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมก็ บังเกิดขึ้นตามมาเป็นลูกโซ่ เมื่อสติปัฏฐานสี่บริบูรณ์ ย่อมส่ง ผลให้โพชฌงค์ ๗ อันเป็นเครื่องตรัสรู้บังเกิดขึ้นมา และสุดท้าย วิชชา คือความรู้อันบริสุทธิ์ และวิมุตติ คือความหลุดพ้นจาก กิเลสอาสวะทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น” นี่เป็นอานิสงส์ในการคบ บัณฑิตหรือสัตบุรุษ ว่ามีอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ต่อตัวของเรานั่นเอง ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์จะกำหนดกิจวัตรส่วนตัว เพื่อสะดวกในการจัดสรร เวลาแสดงธรรมแก่พุทธศาสนิกชน เนื่องจากทุกวันจะมีทั้งมนุษย์ และเทวดามาเข้าเฝ้ามิได้ขาด พระองค์จึงกำหนดไว้ว่า ในยามเย็น จะแสดงธรรมให้กับญาติโยม เวลาค่ำจะแสดงธรรมแก่ภิกษุสงฆ์ ส่วนในเวลาเที่ยงคืนจะทรงพยากรณ์ปัญหาแก่เทวดาที่ลงมา จากสวรรค์ชั้นต่างๆ *ในเมืองสาวัตถีนั้น มีอุบาสกท่านหนึ่งชื่อธัมมิกอุบาสก ท่านได้ฟังธรรมจนได้บรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคล เป็นผู้ *มก. เล่ม ๔๗ หน้า ๓๖๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น