อุปมาอุปไมยจากพระไตรปิฎก อุปมาอุปไมยจากพระไตรปิฎก หน้า 4
หน้าที่ 4 / 370

สรุปเนื้อหา

เอกสารนี้นำเสนออุปมาอุปไมยที่คัดลอกจากพระไตรปิฎกที่ถูกจัดเรียงตามหลักมงคลสูตร ๓๘ ประการ เพื่อความสะดวกในการค้นคว้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการนำไปใช้ในการเขียนบทความ ควรศึกษาที่มาของแต่ละอุปมาอุปไมยจากข้อความในพระไตรปิฎก รวมถึงการอ้างอิงชื่อคัมภีร์ต่างๆ เพื่อให้เข้าใจสาระสำคัญได้มากที่สุด

หัวข้อประเด็น

-อุปมาอุปไมยในพระไตรปิฎก
-การจัดหมวดหมู่อุปมาอุปไมย
-การศึกษาคำสอนจากพระไตรปิฎก
-อักษรย่อในพระไตรปิฎก
-มงคลสูตร ๓๘ ประการ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อุปมาอุปไมยจากพระไตรปิฎก คำชี้แจงการใช้อุปมาอุปไมย 1. บทนำ อุปมาอุปไมยนี้ คัดลอกจากพระไตรปิฎกฉบับต่างๆ และหนังสือมีนปัญหา ฉบับ ชำระโดยพระธรรมมหาวีรวัตร (ปุ๋ย ฉายแสง) คณะผู้จัดได้คัดลอกข้อความจากพระไตรปิฎก มีการตัดย่อข้อความที่ซ้ำบ้าง แต่ส่วนใหญ่งั้นธรำสนุนภาษาเฉพาะจากพระไตรปิฎก เพื่อรักษาสาระสำคัญของอุปมาอุปไมยไว้ หนังสือเล่มนี้ นำอุปมาอุปไมยมาจัดหมวดหมู่ตามหลักมงคลสูตร ๓๘ ประการ เพื่อให้เหมาะสมกับการค้นคว้านำไปใช้ได้โดยสะดวกรวดเร็ว เช่น ถ้าต้องอุปมาอุปไมยเรื่องคนพาล ก็สามารถเปิดไปถึงหมวดที่ ๑ ไม่คนพาล ซึ่งได้รวบรวมอุปมาอุปไมยเกี่ยวกับคนพาลในมิติ ต่างๆ ไว้ในที่เดียว สำหรับท่านที่มีความประสงค์จะนำอุปมาอุปไมยไปใช้องinthในการเขียนบทความ ควรศึกษาถึงที่มาจากพระไตรปิฎก โดยคณะผู้จัดทำได้อ้างอิงมาที่ท้ายของอุปมาอุปไมยในแต่ละข้อ ซึ่งสามารถศึกษาได้จากอักษรย่อชื่อคัมภีร์ และตารางเทียบพระไตรปิฎกฉบับต่างๆ หน้า ๔๗๕ เช่น ช.ช (โพธิ) มก. ๕๙/๒๑๑ หมายถึง คัมภีร์ธุมิยา ชาดก คำกล่าวของพระโพธิสัตว์จากหนังสือพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๕๙ หน้า ๒๑๑ 2. อักษรย่อ (พุทธ) หมายถึง พระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ปัจเจก) หมายถึง พระดำรัสของปัจเจกพุทธเจ้า (เทร) (เทร) หมายถึง คำกล่าว ของพระเถระ พระเถรี (อรรถ) หมายถึง คำกล่าวของพระโบราณาจารย์ (โพธิ) หมายถึง คำกล่าวของพระโพธิสัตว์ (ทั่วไป) หมายถึง คำกล่าวที่มีในบุคคลต่างๆ เช่น เทวดา, พระราชา, พราหมณ์ เป็นต้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More