ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชา
ธรรมกาย ต้น แหล่งแห่งความสุข
៤៨០
เห็นด้วยตาของธรรมกายว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้เป็นอนัตตา
บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีสาระแก่นสาร ใจจึงคลายความยึดมั่นถือ
มั่นในสรรพสิ่งเหล่านั้น ยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
นอกจากนี้ธรรมกายยังรู้เห็นรูปนาม ที่ประกอบด้วยขันธ์
๕ เหล่านี้ว่า เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
จะห้ามไม่ให้แก่ ไม่ให้ตาย ไม่ให้เปลี่ยนแปลง ก็ไม่ได้ เมื่อเห็น
อย่างนี้จะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายจิตหลุดพ้นแล้ว
ใจจะน้อมไปในพระนิพพาน ซึ่งคงที่ยั่งยืนและเป็นบรมสุข ไม่มี
การเปลี่ยนแปลง หลุดพ้นอย่างนี้ ท่านเรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์
ส่วนค่าว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นสภาวะที่ญาณทัสสนะ
ของธรรมกาย รู้ว่ารูปนามขันธ์ ๕ ทั้งหลายที่เราอาศัยอยู่นี้
เป็นเหมือนบ้านเรือนที่เราอาศัยอยู่ชั่วคราว เป็นรังแห่งโรคทั้ง
หลาย ตั้งแต่เกิดมาก็เป็นทุกข์แล้ว ทุกข์ที่ต้องคอยดูแลสังขาร
ร่างกายที่ตกอยู่ในไตรลักษณ์ จะบังคับไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้
ตายก็ไม่ได้ เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงถอนความอาลัยความ
ยึดมั่นถือมั่นในสังขารทำให้พบว่า มีแต่ธรรมกายเท่านั้น ที่เป็น
สรณะที่แท้จริง
คำว่า มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมากมาย หมายถึงว่า
เมื่อท่านได้เข้าถึงกายธรรมอรหัต กายท่านใหญ่โตมาก