ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประช
ปล่อยวาง อย่าง พระอริยะ
៤៩៩
ประชุมรวมกันเป็นก้อนกาย ภาษาบาลีท่านใช้คำว่า รุปปลกฺขณ์
คือ มีลักษณะเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ในส่วนของนามคือ
ความรู้สึกเป็นสุขหรือทุกข์ที่เกิดขึ้นทางกาย หรือรู้สึกเฉยๆ ไม่
สุขไม่ทุกข์ ท่านเรียกว่า เวทนา มีลักษณะเสวยอารมณ์ ความ
จ๋าได้หมายรู้ จ๋ารูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ที่เกิด
ทางใจได้ ท่านเรียกว่า สัญญา
สังขาร คือ การปรุงแต่งจิต ที่เป็นส่วนดี เรียกว่า กุศล
ที่เป็นส่วนไม่ดีท่านเรียกว่า อกุศล หรือเป็นกลางๆ ท่านเรียกว่า
อัพยากตา ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดจากอายตนะภายใน กับ
อายตนะภายนอกกระทบกัน ไม่ว่าจะเป็นเห็นรูปด้วยตา ฟัง
เสียงด้วยหู ซึ่งส่งผลให้เกิดความรู้แจ้งทางอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้น
ท่านเรียกว่า วิญญาณ
เพราะฉะนั้น เมื่อพูดถึงรูปนามขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นเอง ขันธ์ ๕ นี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา เพราะมีการเกิดขึ้นตั้งอยู่
และเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา มีทุกข์มาก เพราะเป็นรังของ
โรคทั้งหลาย ต้องดูแลรักษากันตลอดเวลา บางคนเกิดมา
รํารวยมหาศาล แต่มีร่างกายไม่แข็งแรง ต้องเสียเวลามาดูแล
รักษา หมดเงินทองไปมากมาย เพื่อรักษาสรีรยนต์นี้ให้คงอยู่ต่อ
ไป ขันธ์ ๕ นี้จึงเป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในบังคับบัญชา และ