ข้อความต้นฉบับในหน้า
Boประช
ปล่อยวางในสรรพสิ่ง
๔๓๒
“แล้วพระองค์ไม่ได้ยินเสียงฟ้าผ่าหรือ” “เราไม่ได้เห็นและไม่ได้
ยินเสียงอะไรเลย” ชาวบ้านทูลถามด้วยความสงสัยว่า
“พระองค์บรรทมหลับอยู่หรือเปล่า ถึงไม่ทราบเหตุการณ์ที่เกิด
ขึ้นนี้”
พระบรมศาสดาตอบว่า “เราไม่ได้หลับ ยังคงรู้สึกตัว
เป็นผู้ตื่นอยู่ตลอดเวลา” ที่ทรงตอบอย่างนั้น เพราะเมื่อใจ
หยุดนิ่งเข้าสู่ภายในแล้ว จะไม่ได้ใส่ใจในสิ่งนอกตัวเลย เนื่องจาก
ว่าไม่มีอะไรที่จะน่ายินดียิ่งไปกว่าใจที่หยุดนิ่งอยู่ภายใน
เมื่อปุกกุสะได้ฟังเรื่องราวอันน่าอัศจรรย์นี้แล้ว ก็ยิ่ง
บังเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธองค์ ที่ทรงมีอุเบกขาธรรมมี
พระทัยสงบ หยุดนิ่งไม่สะดุ้งหวั่นไหว แม้กระทั่งเสียงฟ้าผ่าฟ้าร้อง
ปุกกุสะจึงขอถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
และประกาศตนเป็นอุบาสกไปจนตลอดชีวิต
เพราะฉะนั้น ใจที่หยุดนิ่ง จะทำให้เราเป็นผู้ไม่หวั่นไหว
ในทุกสิ่งทุกอย่าง หยุดนิ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด คำสอนของ
พระพุทธเจ้า ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ก็เกิดจากใจที่
หยุดนิ่งตรงกลางกายนี่เอง เพราะฉะนั้นหยุดจึงเป็นตัวสำเร็จ
ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่ง เป็นพระอรหันต์ คำว่า “หยุด” จึง
เป็นคำที่ยิ่งใหญ่ สมควรจะได้รับการสืบทอดให้เป็นมรดก