ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชาชน
โทษของการฉ้อราษฎร์บังหลวง
๕๑
*ในสมัยที่พระบรมศาสดาทรงสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์
มีอยู่ชาติหนึ่ง พระองค์บังเกิดเป็นพระราชา พระนามว่าพรหมทัต
ครองราชย์อยู่ในเมืองพาราณสี ทรงเป็นผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส
ในพระรัตนตรัย ให้ทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถอยู่เป็นประจํา
นอกจากนี้ พระองค์ทรงปรารถนาให้เหล่าพสกนิกรมีความ
เลื่อมใสในพระรัตนตรัย โดยให้ยึดเอาพระพุทธ พระธรรม และ
พระสงฆ์เป็นสรณะ เช่นเดียวกับพระองค์
ในพระราชสำนัก มีปุโรหิตคนหนึ่งรับราชการอยู่กับ
พระองค์ เมื่อได้เลื่อนยศตำแหน่งเป็นผู้ปกครองคนแล้ว คิดแต่
อยากได้ทรัพย์สมบัติ ไม่รู้จักพอ แทนที่จะใช้ตำแหน่งหน้าที่
ของตนสร้างบารมี ขจัดทุกข์บำรุงสุขช่วยเหลือราษฎร แต่กลับ
เอาไปทําในสิ่งที่ก่อให้เกิดบาป ขูดรีดประชาชนให้เดือดร้อน
ไม่พอใจใครก็ใช้อำนาจบีบบังคับ รับสินบนเป็นอาจิณ ทำให้
ตัดสินคดีความด้วยความลำเอียง
ในวันอุโบสถ พระราชาทรงรับสั่งให้อำมาตย์ข้าราช
บริพารทั้งหมดมาประชุมกัน แล้วให้ทุกคนรักษาอุโบสถศีล
ทุกๆ คนก็น้อมรับตามพระราชประสงค์ มีเพียงปุโรหิตท่านนี้
ที่ไม่ยอมสมาทานอุโบสถศีล เมื่อพระราชาทรงซักถาม ปุโรหิต
ทูลเท็จว่าได้สมาทานแล้ว ขณะที่กลับจากการเฝ้าพระราชา
อ๋ามาตย์ท่านหนึ่งทักท้วงขึ้นว่า ท่านปุโรหิตยังไม่ได้สมาทานเลย