ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชาช
โทษของการพูดไม่ถูกกาล
១៨៧
พอดี แต่พระองค์ตรัสเก่งเหลือเกิน ซึ่งหลายๆ ครั้ง ก็ไม่เหมาะ
กับกาลเทศะ ไม่เหมาะกับฐานะของพระองค์ที่เป็นจอมแห่งนรชน
มาวันนี้เหตุการณ์เป็นใจ เราจะถือโอกาสนี้ตักเตือนพระราชา
จึงได้กราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช ขึ้นชื่อว่าคนปากกล้า พูดมาก
ในกาลที่ไม่ควรพูด ย่อมได้รับทุกข์เหมือนกับลูกนกดุเหว่าที่
กําลังได้รับนั่นแหละ พระเจ้าข้า ข้าแต่มหาราช ลูกนกดุเหว่า
เจริญเติบโตได้ก็เพราะนางกา ปีกยังไม่ทันกล้าแข็งเลย ก็ร้อง
ในกาลทีไม่ควรร้อง เมื่อแม่กาที่เคยรักเอ็นดูได้ฟังก็รู้ว่านี่ไม่ใช่ลูก
ของเรา จึงจิกตีด้วยจะงอยปากให้ตกลงมาตายไม่ว่าจะเป็นมนุษย์
หรือสัตว์เดียรัจฉานก็ตามเถอะ หากพูดมากในกาลที่ไม่ควรพูด
ย่อมประสบทุกข์ได้เช่นกัน” เมื่อกล่าวอย่างนี้แล้ว ยังให้ข้อคิด
กับพระราชาต่อไปอีกว่า
“เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่จะเอ่ยปากพูด ผู้ใดก็ตามที่พูด
เกินเวลาไป ผู้นั้นย่อมจะถูกทำร้ายเหมือนลูกนกดุเหว่านั่นแหละ
มีดที่ลับจนคมกริบดุจยาพิษที่ร้ายแรง หาทำให้ชีวิตตกไปใน
ทันทีทันใด เหมือนวาจาทุพภาษิตไม่ เพราะฉะนั้นบัณฑิตที่แท้จริง
จึงรักษาวาจาไว้ ทั้งในกาลที่ควรพูดและในกาลที่ไม่ควรพูด
ไม่ควรพูดให้เกินเวลาแม้ในบุคคลผู้เสมอกับตน ผู้ใดก็ตามที่มี
ความคิด มีปัญญา พิจารณาเห็นประจักษ์ พูดพอเหมาะในกาล
ที่ควรพูด ผู้นั้นย่อมจะครอบงำศัตรูได้ทั้งหมด เหมือนพญาครุฑ