ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชาช
โทษของการพูดไม่ถูกกาล
๑๘๓
การอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์ที่ยังมีการติดต่อสัมพันธ์
กันนี้ คำพูดนั้นเป็นสื่อที่ใช้มากที่สุดก็ว่าได้ วาจาสุภาษิตนั้น
หมายถึงคําพูดที่ผู้พูดได้กลั่นกรองไว้ดีแล้ว คิดแล้วคิดอีกจึง
พูดออกไป มิได้หมายความว่า อยากจะพูดอะไรก็พูดไปอย่างนั้น
โดยขาดการพินิจพิจารณาเสียก่อน แต่น่าสังเกตว่า อวัยวะใน
ร่างกายของคนเรานี้ อย่างเช่น ตามีหน้าที่ดูอย่างเดียว ธรรมชาติ
ให้มาถึงสองตา หูมีหน้าที่ฟังอย่างเดียว แต่มีถึงสองข้าง จมูก
มีหน้าที่ดมกลิ่น แต่ธรรมชาติให้มาถึงสองรู ส่วนปากทําหน้าที่
ถึงสองอย่างด้วยกัน คือทั้งกินและพูด แต่ธรรมชาติกลับให้มา
แค่ปากเดียวเท่านั้น เหมือนกับจะบอกว่า ธรรมชาติปรารถนา
จะให้คนดูให้มาก ฟังให้มาก แต่พูดให้พอดีๆ ให้มีสติกำกับ
เวลาพูด เวลาจะทานอาหาร ก็ทานให้พอดีๆ ถ้าพูดน้อยไปก็
จะทำให้การสื่อสารไม่สมบูรณ์ พูดมากไปก็เกิดโทษ ไม่พูดเลยก็
ยิ่งไม่รู้เรื่อง ดังนั้นการรู้จักพูดนั้นจึงเป็นคุณประโยชน์ทั้งต่อ
ตัวผู้พูดเอง และผู้ฟังด้วย
แม้เราจะทราบกันมาแล้วว่า วาจาสุภาษิตเป็นสิ่งที่ดี
แต่ในชีวิตประจําวัน การใช้วาจาสุภาษิตให้ได้ตลอดเวลาไม่ใช่
เรื่องง่าย เพราะยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย ที่ต้อง
ฝึกฝน การรู้จักใช้วาจาสุภาษิตที่สมบูรณ์นั้น ผู้พูดควรจะขบคิด
คํานึงถึงสิ่งใดบ้าง วันนี้หลวงพ่อจะนําองค์ประกอบของวาจา