ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชาช
โทษของการพูดไม่ถูกกาล
១៨៥
ประการที่ห้า พูดให้ถูกกาลเทศะ เรื่องนี้หลวงพ่ออยาก
จะย้ำว่าสำคัญมาก พูดถูกกาล คือรู้ว่าเวลาไหนควรพูด เวลาไหน
ควรนิ่ง พูดถูกเทศะก็คือถูกสถานที่ รู้ว่าสถานที่อย่างนี้ควรพูด
หรือไม่ควรพูดอย่างไร เป็นต้น
การพูดงัดเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน องค์ประกอบทั้งหลาย
ที่หลวงพ่อนำมากล่าวนี้ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรตระหนักให้ดี
ตราบใดที่เรายังต้องสื่อสารกันด้วยถ้อยคำอยู่ ต้องพูดให้ถูก
กาลเทศะ ถูกบุคคล เพราะหากเราพูดผิดพลาดแม้เพียงครั้งเดียว
อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างที่คาดไม่ถึงได้ เหมือนดังเรื่องที่
เคยเกิดขึ้นในอดีต ที่พระบรมศาสดาทรงนำมาเล่า ปรารภถึง
การพูดที่ไม่ถูกกาลเทศะของภิกษุชื่อว่า โกกาลิกะ เรื่องมีอยู่ว่า
*ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นอำมาตย์แก้วของ
พระเจ้าพาราณสี พระราชาพระองค์นั้น เป็นผู้ที่รับสั่งมากเกิน
ความจําเป็น พระโพธิสัตว์จึงพยายามหากุศโลบายที่จะแนะนํา
พระราชาในทางอ้อม จนกระทั่งวันหนึ่ง พระราชาเสด็จ
ประพาสอุทยาน แล้วประทับนั่งบนแผ่นศิลาที่สร้างไว้สำหรับ
พระราชาโดยเฉพาะ ในสมัยก่อนนี้เวลาที่พระมหากษัตริย์เสด็จ
*มก. เล่ม ๕๔ หน้า ๕๔๙